‘ญี่ปุ่น’ทันตะวันตก แต่ไม่ทิ้งตะวันออก
บทความโดยอาจารย์บรรจง บินกาซัน ประธานโครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม มูลนิธิสันติชน

ไทย ญี่ปุ่น และตุรกี เริ่มต้นความเป็นประเทศสมัยใหม่พร้อมกัน แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เราปฏิเสธไม่ได้ว่าญี่ปุ่นพัฒนาไปไกลกว่า มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีมากกว่าชาติอื่นทั้งๆที่มี ทรัพยากรน้อยกว่า ได้รับภัยพิบัติธรรมชาติและหายนภัยจากสงครามมากกว่า
เพื่อน ของผมคนหนึ่งซึ่งไปมีครอบครัวที่นั่นเล่าให้ฟังว่า แม้ญี่ปุ่นมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มากมายในประเทศ แต่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่นคือคนญี่ปุ่น ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการให้การศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล
หลาย คนคิดว่าโรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นเป็นโรงเรียนหรูหรา มีอุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัยเป็นการเอาใจผู้ปกครองเพื่อดูดเงินเข้าโรงเรียน แต่ไม่ใช่เช่นนั้นเลย
โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่น ไม่ว่าของรัฐหรือของเอกชนมีห้องเรียนแบบเรียบง่าย มีเปียโน 1 หลัง โทรทัศน์ 1 เครื่อง และเครื่องบันทึกแบบกระเป๋าหิ้ว 1 เครื่อง ซึ่งดูไฮเทคหน่อยเท่านั้น ส่วนของเล่นเด็กมีเพียงกระดาษแข็ง กล่องบรรจุขนาดต่างๆ หนังสือพิมพ์ เชือกไนล่อน ตะเกียบไม้และสมุดจำนวนมากให้เด็กขีดเขียนหรือตัดแปะตามใจชอบ
ความ จริงแล้วนี่คือความฉลาดของนักการศึกษาญี่ปุ่นซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนา ศักยภาพของเด็ก ไม่ปล่อยให้เด็กเป็นทาสของ “ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป” และการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดพลังการแข่งขันโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ มีอยู่รอบข้างซึ่งจะทำให้เด็กรับประโยชน์ตลอดชีวิต
วันแรกที่คุณแม่พา คุณลูกไปรายงานตัว ทางโรงเรียนอนุบาลก็มอบหมายให้คุณแม่เตรียมกระเป๋ามากมายหลายขนาด มีทั้งกระเป๋าหนังสือ กระเป๋าใส่ไหมพรม กระเป๋าเครื่องครัว กระเป๋าเสื้อผ้า กระเป๋าเสื้อผ้าสำรอง กระเป๋าเสื้อผ้าใช้แล้วและกระเป๋ารองเท้า โดยกำหนดด้วยว่ากระเป๋าเหล่านี้ต้องสามารถใส่ซ้อนกันได้
สองปีผ่านไป เด็กญี่ปุ่นก็รู้จักแยกแยะการใช้กระเป๋าตามประเภท ด้วยเหตุนี้พอโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ชาวญี่ปุ่นจึงขยันแยกขยะตามประเภทโดยไม่รู้สึกรำคาญ พฤติกรรมของคนญี่ปุ่นจึงน่าจะเกี่ยวกับการอบรมตั้งแต่เด็ก
วันเปิด เรียน ผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายที่มาส่งเด็กต่างปล่อยให้เด็ก ถือกระเป๋าด้วยตนเอง แม้จะมีสัมภาระหนักอึ้ง เด็กอนุบาลเหล่านี้ก็ยังวิ่งฉิวเพราะพลังเต็มร้อย
โรงเรียนอนุบาลมี เครื่องแบบตามฤดูกาลและกิจกรรม คลอดทั้งปีเด็กอนุบาลญี่ปุ่นต้องใส่เสื้อสวมหัว สวมหมวก เมื่อไปถึงโรงเรียน เด็กจะเปลี่ยนเสื้อและรองเท้าตามกิจกรรม ที่ใส่มาจากบ้านมาใส่เสื้อเล่น หลังจากนอนพักกลางวัน ตื่นขึ้นมาต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่
แต่ละวัน เด็กอนุบาลญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าหลายครั้ง ทั้งคุณแม่และคุณครูจะยืนดูห่างๆโดยไม่ช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักดำเนินชีวิตด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 2-3 ขวบ ให้ฝึกทั้งเปลี่ยนเสื้อผ้า เก็บคู่มือ ติดสติกเกอร์ แขวนผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น เป็นการบ่มนิสัยการทำงานเป็นระเบียบ
เด็กๆในโรงเรียนอนุบาล ญี่ปุ่นได้รับการฝึกร่างกายให้ทนกับความหนาวในฤดูหนาวด้วยการถอดเสื้อวิ่ง เล่น พ่อแม่ไม่ให้เด็กใส่เสื้ออบอุ่นเพื่อให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง จิตใจทรหด
โรงเรียนอนุบาลดูเหมือนไม่เน้นการสอนความรู้ เด็กๆไม่มีตำรา มีแต่สมุดวาดเขียนเดือนละเล่ม ตารางเรียนไม่มีวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษหรือวิชาดนตรี ถ้าถามว่าสอนอะไร คำตอบที่ได้คือ “สอนเด็กให้รู้จักยิ้มหยีๆ” ในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน “ยิ้ม” ถือว่าสำคัญยิ่ง เด็กผู้หญิงที่ยิ้มเป็นถือว่าสวยที่สุด นอกจากนี้โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นยังสอนให้รู้จัก “ขอบคุณ”
อย่างไรก็ ตาม 3 ปีในโรงเรียนอนุบาล พบว่าเด็กญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าในด้านดนตรี วิจิตรศิลป์และการอ่านเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบการศึกษาองค์รวม
โรงเรียน อนุบาลญี่ปุ่นมีกิจกรรมให้เด็กมากมายจนคุณแม่ต้องกาเครื่องหมายบนปฏิทิน เพื่อเตือนให้ทำปิ่นโตสำหรับลูกของตัวเอง เพราะตลอดปีมีรายการปิกนิก ไต่เขา เที่ยวทะเลสาบ ชมสวนสัตว์และสวนพฤกษชาตินับครั้งไม่ถ้วน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายก่ายกอง เช่น ทำขนมโก๋ในเทศกาล แข่งกีฬา งานแสดงเพื่อชุมชน ออกค่ายพักแรม จัดนิทรรศการ นมัสการที่วัดวาอารามต่างๆ
ก่อนถึงวันเกิดเด็ก ครูจะติดต่อกับพ่อแม่เด็ก ถามที่มาของชื่อเด็กและขอยืมรูปถ่ายของเด็กตั้งแต่แรกเกิดเพื่อจัดแสดงใน ชั้นเรียน และขอให้คุณแม่เขียนข้อความเล่าเรื่องตอนเด็กเกิดใหม่ เพื่อนำไปอ่านหน้าห้อง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเรียนรู้ความเป็นมาของชีวิต ตระหนักถึงความยากลำบากตั้งแต่เกิดจนเติบโต รู้จักยินดีและขอบคุณในชีวิต ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมื่อรู้จักให้เกียรติแก่ชีวิตตั้งแต่เด็ก โตขึ้นจะไม่ค่อยมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทาง
นอกจากนี้แล้วโรงเรียนอนุบาล ญี่ปุ่นยังฝึกซ้อมการป้องกันภัยแผ่นดินไหวและอัคคีภัยซึ่งเป็นหายนภัยสำคัญ ให้เด็กด้วย ในการฝึก เด็กจะสวมหมวกกันสะเทือนซึ่งทนไฟและหนักมาก ฝึกให้รู้จักวิ่งหนีอย่างชาญฉลาดโดยหลบหลีกท่อแก๊สและมุ่งไปหาที่โล่งแจ้ง
จึง ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมคนญี่ปุ่นจึงเป็นคนที่มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบสูง และถึงแม้จะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับตะวันตก แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงรักษาความเป็นตะวันออกไว้ได้
บทความโดยอาจารย์บรรจง บินกาซัน ประธานโครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม มูลนิธิสันติชน

ไทย ญี่ปุ่น และตุรกี เริ่มต้นความเป็นประเทศสมัยใหม่พร้อมกัน แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เราปฏิเสธไม่ได้ว่าญี่ปุ่นพัฒนาไปไกลกว่า มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีมากกว่าชาติอื่นทั้งๆที่มี ทรัพยากรน้อยกว่า ได้รับภัยพิบัติธรรมชาติและหายนภัยจากสงครามมากกว่า
เพื่อน ของผมคนหนึ่งซึ่งไปมีครอบครัวที่นั่นเล่าให้ฟังว่า แม้ญี่ปุ่นมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มากมายในประเทศ แต่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่นคือคนญี่ปุ่น ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการให้การศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล
หลาย คนคิดว่าโรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นเป็นโรงเรียนหรูหรา มีอุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัยเป็นการเอาใจผู้ปกครองเพื่อดูดเงินเข้าโรงเรียน แต่ไม่ใช่เช่นนั้นเลย
โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่น ไม่ว่าของรัฐหรือของเอกชนมีห้องเรียนแบบเรียบง่าย มีเปียโน 1 หลัง โทรทัศน์ 1 เครื่อง และเครื่องบันทึกแบบกระเป๋าหิ้ว 1 เครื่อง ซึ่งดูไฮเทคหน่อยเท่านั้น ส่วนของเล่นเด็กมีเพียงกระดาษแข็ง กล่องบรรจุขนาดต่างๆ หนังสือพิมพ์ เชือกไนล่อน ตะเกียบไม้และสมุดจำนวนมากให้เด็กขีดเขียนหรือตัดแปะตามใจชอบ
ความ จริงแล้วนี่คือความฉลาดของนักการศึกษาญี่ปุ่นซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนา ศักยภาพของเด็ก ไม่ปล่อยให้เด็กเป็นทาสของ “ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป” และการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดพลังการแข่งขันโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ มีอยู่รอบข้างซึ่งจะทำให้เด็กรับประโยชน์ตลอดชีวิต
วันแรกที่คุณแม่พา คุณลูกไปรายงานตัว ทางโรงเรียนอนุบาลก็มอบหมายให้คุณแม่เตรียมกระเป๋ามากมายหลายขนาด มีทั้งกระเป๋าหนังสือ กระเป๋าใส่ไหมพรม กระเป๋าเครื่องครัว กระเป๋าเสื้อผ้า กระเป๋าเสื้อผ้าสำรอง กระเป๋าเสื้อผ้าใช้แล้วและกระเป๋ารองเท้า โดยกำหนดด้วยว่ากระเป๋าเหล่านี้ต้องสามารถใส่ซ้อนกันได้
สองปีผ่านไป เด็กญี่ปุ่นก็รู้จักแยกแยะการใช้กระเป๋าตามประเภท ด้วยเหตุนี้พอโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ชาวญี่ปุ่นจึงขยันแยกขยะตามประเภทโดยไม่รู้สึกรำคาญ พฤติกรรมของคนญี่ปุ่นจึงน่าจะเกี่ยวกับการอบรมตั้งแต่เด็ก
วันเปิด เรียน ผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายที่มาส่งเด็กต่างปล่อยให้เด็ก ถือกระเป๋าด้วยตนเอง แม้จะมีสัมภาระหนักอึ้ง เด็กอนุบาลเหล่านี้ก็ยังวิ่งฉิวเพราะพลังเต็มร้อย
โรงเรียนอนุบาลมี เครื่องแบบตามฤดูกาลและกิจกรรม คลอดทั้งปีเด็กอนุบาลญี่ปุ่นต้องใส่เสื้อสวมหัว สวมหมวก เมื่อไปถึงโรงเรียน เด็กจะเปลี่ยนเสื้อและรองเท้าตามกิจกรรม ที่ใส่มาจากบ้านมาใส่เสื้อเล่น หลังจากนอนพักกลางวัน ตื่นขึ้นมาต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่
แต่ละวัน เด็กอนุบาลญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าหลายครั้ง ทั้งคุณแม่และคุณครูจะยืนดูห่างๆโดยไม่ช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักดำเนินชีวิตด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 2-3 ขวบ ให้ฝึกทั้งเปลี่ยนเสื้อผ้า เก็บคู่มือ ติดสติกเกอร์ แขวนผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น เป็นการบ่มนิสัยการทำงานเป็นระเบียบ
เด็กๆในโรงเรียนอนุบาล ญี่ปุ่นได้รับการฝึกร่างกายให้ทนกับความหนาวในฤดูหนาวด้วยการถอดเสื้อวิ่ง เล่น พ่อแม่ไม่ให้เด็กใส่เสื้ออบอุ่นเพื่อให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง จิตใจทรหด
โรงเรียนอนุบาลดูเหมือนไม่เน้นการสอนความรู้ เด็กๆไม่มีตำรา มีแต่สมุดวาดเขียนเดือนละเล่ม ตารางเรียนไม่มีวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษหรือวิชาดนตรี ถ้าถามว่าสอนอะไร คำตอบที่ได้คือ “สอนเด็กให้รู้จักยิ้มหยีๆ” ในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน “ยิ้ม” ถือว่าสำคัญยิ่ง เด็กผู้หญิงที่ยิ้มเป็นถือว่าสวยที่สุด นอกจากนี้โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นยังสอนให้รู้จัก “ขอบคุณ”
อย่างไรก็ ตาม 3 ปีในโรงเรียนอนุบาล พบว่าเด็กญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าในด้านดนตรี วิจิตรศิลป์และการอ่านเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบการศึกษาองค์รวม
โรงเรียน อนุบาลญี่ปุ่นมีกิจกรรมให้เด็กมากมายจนคุณแม่ต้องกาเครื่องหมายบนปฏิทิน เพื่อเตือนให้ทำปิ่นโตสำหรับลูกของตัวเอง เพราะตลอดปีมีรายการปิกนิก ไต่เขา เที่ยวทะเลสาบ ชมสวนสัตว์และสวนพฤกษชาตินับครั้งไม่ถ้วน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายก่ายกอง เช่น ทำขนมโก๋ในเทศกาล แข่งกีฬา งานแสดงเพื่อชุมชน ออกค่ายพักแรม จัดนิทรรศการ นมัสการที่วัดวาอารามต่างๆ
ก่อนถึงวันเกิดเด็ก ครูจะติดต่อกับพ่อแม่เด็ก ถามที่มาของชื่อเด็กและขอยืมรูปถ่ายของเด็กตั้งแต่แรกเกิดเพื่อจัดแสดงใน ชั้นเรียน และขอให้คุณแม่เขียนข้อความเล่าเรื่องตอนเด็กเกิดใหม่ เพื่อนำไปอ่านหน้าห้อง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเรียนรู้ความเป็นมาของชีวิต ตระหนักถึงความยากลำบากตั้งแต่เกิดจนเติบโต รู้จักยินดีและขอบคุณในชีวิต ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมื่อรู้จักให้เกียรติแก่ชีวิตตั้งแต่เด็ก โตขึ้นจะไม่ค่อยมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทาง
นอกจากนี้แล้วโรงเรียนอนุบาล ญี่ปุ่นยังฝึกซ้อมการป้องกันภัยแผ่นดินไหวและอัคคีภัยซึ่งเป็นหายนภัยสำคัญ ให้เด็กด้วย ในการฝึก เด็กจะสวมหมวกกันสะเทือนซึ่งทนไฟและหนักมาก ฝึกให้รู้จักวิ่งหนีอย่างชาญฉลาดโดยหลบหลีกท่อแก๊สและมุ่งไปหาที่โล่งแจ้ง
จึง ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมคนญี่ปุ่นจึงเป็นคนที่มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบสูง และถึงแม้จะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับตะวันตก แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงรักษาความเป็นตะวันออกไว้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น