29 มิถุนายน 2555

'เปิดโลกมุสลิม'ตอน'นิติศาสตร์อิสลาม'





คอลัมน์ เปิดโลกการศึกษามุสลิม : เจาะคณะดัง 'นิติศาสตร์อิสลาม' ม.อัลอัซฮัร : โดย ... dolman_cario@hotmail.com 

วันนี้ เปิดโลกการศึกษามุสลิม เขียน ถึงคณะนิติศาสตร์อิสลาม หนึ่งคณะที่นับได้ว่าเป็นคณะที่นักศึกษาทั่วโลกให้การศึกษากันมากที่สุด ตัวแทนที่แบ่งปันประสบการณ์ตั้งใจศึกษาและหาเลี้ยงส่งตัวเองเรียนด้วยฝีมือ การทำอาหารอันลือชื่อ ทุกกิจกรรมของชมรมฯ สมาคมฯ สถานทูตฯ จะมีน้องอิลยาซ เข้าร่วมงานเสมอไม่ได้ขาด แม้จะมีปัญหาครอบครัว เรื่องส่วนตัว แต่สามารถผ่านวิกฤติมาด้วยความอดทนจนสามารถก้าวขึ้นมาปี 4 ของมหาวิทยาลัยโลกได้อย่างน่าทึ่ง  ประวิทย์  อาเก็บ หรือ “อิลยาซ” ในครอบครัว ประสิทย์-ทรงศิริ อาชีพขายของจากปทุมธานี เป็นคนโตในพี่น้อง  5 คน จบการศึกษามัธยมปลายศาสนาที่โรงเรียนมิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะห์บ้านดอน กรุงเทพฯ ขึ้นมาเรียนอียิปต์เมื่อปี 2005 เข้าเรียนคณะ “นิติศาสตร์อิสลาม” โดยความตั้งใจตั้งแต่อยู่เมืองไทยแล้ว

     “อิลยาซ” เล่าว่า ที่เลือกเรียนคณะนี้เพราะในสังคมไทยมีหลายศาสนา เพราะฉะนั้นในการหลักการปฏิบัติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และบอก เล่ากับพี่น้องในศาสนาเดียวกันและต่างศาสนิกเพื่อที่จะได้เข้าใจตรงกันและ อยู่กันในสังคมได้อย่างมีความสุข โดย ปี1/  1.อัลกุรอาน 2.ประวัติศาสตร์การออกกฎหมายอิสลาม 3.วิชาวจนะและความรู้เกี่ยวกับวจนะศาสดา 4.ไวยากรณ์อาหรับ 5.อังกฤษ 6.อรรถธิบายอัลกุรอาน 7.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย (ฟิกมูกอเร็น) 8.อิสลามนิกายอีหม่ามชาฟีอีย์ 9.วิชาพื้นฐานอิสลาม(อูซูลฟิก) 10.วิชาการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย (กอฎอยา) 11.วิชาวิจัยพื้นฐานอิสลาม (บะฮัสอูซูลฟิก)จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาอาหรับ หลักปฏิบัติพื้นฐานในศาสนาว่าด้วยเรื่องส่วนรายบุคคลต่อพระเจ้า วิชาศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ในยุคปัจจุบันเช่น การผสมเทียม โคลนนิ่ง ธนาคารนม การอุ้มบุญ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ตามหลักการอิสลามมีข้อปฏิบัติอย่างไร
          ปี2 / 1.อรรถธิบายอัลกุรอาน 2.ไวยากรณ์อาหรับและการผันอักษร 3.วิชาการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย (กอฎอยา) 4.อังกฤษ 5.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย (ฟิกมูกอเร็น) 6.อิสลามนิกายอีหม่ามชาฟีอีย์  7.วิชาพื้นฐานอิสลาม(อูซูลฟิก) 8.วจนะศาสดาและกฎหมาย (อัลฮาดิษ วัลอะห์กาม) 9.การแต่งงานและการแบ่งมรดก (อะวัล ชักซียะห์) 10.การทำวิจัย 11. อัลกุรอาน ก็จะเน้นเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว และการซื้อขายตามหลักการของอิสลาม ความชัดเจนและรายละเอียดในเรื่องการทำธุรกรรมต่างๆ พร้อมตัวบทและการอรรถาธิบายกุรอ่านในด้านหลักการปฏิบัตอย่างชัดเจน
          ปี3/ 1.อรรถธิบายอัลกุรอาน 2.วิชาวรรณคดีและวิชาวาทศาสตร์ 3.วิชาการเผยแผ่อิสลาม 4.การแบ่งมรดก 5.อัลกุรอาน 6.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย (ฟิกมูกอเร็น)  7.อิสลามนิกายอีหม่ามชาฟีอีย์  8.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย 9.วิชาการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย 10.วิชาพื้นฐานอิสลาม (อูซูลฟิก) 11.วจนะศาสดา 12.วิจัยอิสลาม 13. อังกฤษ  เจาะลึกในเรื่องครอบครัว การสมรส  เรื่องการค่าใช้จ่าย ค่าเลี้ยงดู และสิทธิของการอยู่อาศัยร่วมกัน ผลเสีย และผลกระทบต่อสังคมในเรื่องครอบครัว เรื่องการหย่า การฟ้องร้องเรื่องหย่า  เรื่องการเงิน การธนาคาร
          ปี4 /1.อรรถธิบายอัลกุรอาน 2.วิชาวรรณคดีและวิชาวาทศาสตร์ 3.อังกฤษ 4.กฎพื้นฐานการทำวิจัย (วิทยานิพนย์) 5.วิชากฎพื้นฐานนิติศาสตร์อิสลาม 6.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย (ฟิกมูกอเร็น) 7. อิสลามนิกายอีหม่ามชาฟีอีย์ 8. อัลกุรอาน 9.วจนะศาสดาและกฎหมาย (อัลฮาดิษ วัลอะห์กาม) 10.วิชาพื้นฐานอิสลาม (อูซูลฟิก) 11.วิชาการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย (กอฎอยา) 12.วิจัยการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย ส่วนใหญ่จะเป็นหลักการลงโทษในความผิดต่างๆ การชดเชยค่าเสียหายต่างๆ ความชัดเจนของศาสนาในด้านคดีความต่างๆในแบบของอิสลามและการประยุกต์ใช้ใน ปัจจุบัน  เรื่องการตัดสินคดีความในสมัยของศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล.) หลักการตัดสินความ การสืบพยานต่างๆ    เรื่องมารยาท การอยู่ในสังคม มารยาท ต่อครอบครัว มารยาทส่วนตัวบุคล  เรียนรู้โคลงกลอนอาหรับ ความลึกซึ้งของภาษาและการใช้สำนวน นี่คือประการหลักๆ ของคณะนี้
          อิลยาส เป็นนักเรียนทุนโดยสอบชิงทุนของมหาลัยอัซฮัร พักอยู่ในหอพักนานาชาติ มีอาหารเลี้ยง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ได้รับการลดในส่วนของค่าเทอมและการดูแลรักษาความปลอดภัย และการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน พอเรียนปี 4 ได้ออกมาอยู่หอนอก โดยอาศัยเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนอีก 3 คน ที่เป็นคนไทยด้วยกันในเขตที่เรียกว่า กิสมุฮาดาอิ้ก ค่าใช้จ่ายถือว่าไม่สูงนัก อาหารส่วนใหญ่ทำเองจากส่วนผสมที่พอหาซื้อได้ทั่วไป ค่าใช้จ่ายหนึ่งเดือนราวๆ 5,000 บาท ทำงานพิเศษช่วยงานการจัดเลี้ยงที่สถานทูตบ้างในบางโอกาสเช่นงานวันแม่ งานวันชาติบ้าง หรือรับทำอาหารส่งทั่วไป อย่างน้อยก็จะได้มีเงินไว้เป็นค่าอาหารเลี้ยงตัวเองไปด้วย
          การมาศึกษาในประเทศอียิปต์เสมือนหนึ่งการเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตจริงไปด้วย เพราะที่แห่งนี้ไม่ได้แค่เรียนรู้เชิงวิชาการศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเรียนรู้ในการอยู่กับสังคม การเอาตัวรอดจากอุปสรรค การรู้จักตัวเองในด้านความสามารถและการเลี้ยงตัวเองให้อยู่ได้ในสังคมอีก ด้วย โชคดีที่ในประเทศอียิปต์ มีชมรมของนักศึกษาหลากหลาย  มีสมาคมนักเรียนไทยฯ มีสถานทูตฯ ไว้คอยให้การช่วยเหลือนักศึกษาไทยเป็นอย่างดี มีความเป็นกันเองเข้าถึงกันทุกฝ่าย การเป็นอยู่ของสังคมนักศึกษาที่นี่ มีการช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ดีมาก

----------
(หมายเหตุ : เปิดโลกการศึกษามุสลิม : เจาะคณะดัง 'นิติศาสตร์อิสลาม' ม.อัลอัซฮัร : โดย ... dolman_cario@hotmail.com)

 http://www.komchadluek.net/detail/20120607/132535/%27%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%27%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%27%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%27.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น