31 มีนาคม 2555

อิยิปต์หลังการปฏิวัติประชาชน

เร็วๆนี้นะครับ

30 มีนาคม 2555

สถานที่ท่องเที่ยวของอียิปต์ที่น่าสนใจ


หนึ่ง ปิระมิดทั้งปิรามิดกิซ่า ทีจังหวัดกีซ่า ประเทศอียิปต์ และะปิระมิดขั้นบันใด
สอง ป้อมปราการอาลี บาซาและมัสยิดอาลี บาซา (อยู่ในป้อมปราการ)
สาม วิหารคาร์นัก วิหารอาบูเซ็มเบล จังหวัดอัสวาน ทางตอนใต้ของประเทศ
สี่    มัสยิดอัลอัซฮัรและมัสยิดฮูเซ็น
ห้า  พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ไคโร
หก  ย่านตลาดฮูเซ็น
เจ็ด  โบสถ์หลายร้อยปี
แปด  พิพิธภัณฑ์สุสานทหารอิตาลี

27 มีนาคม 2555

เตรียมความพร้อมของนักศึกษาใหม่ที่จะมาศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร

     นับเป็นอีกความฝันหนึ่งของชายหนุ่มมุสลิม-มุสลีมะห์ที่จบชั้นซานาวีย์ที่จะได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นจากที่ตนเรียนมาโดยการออกไปหาความรู้ยังดินแดนอันไกลโพ้นมิใช่เพื่อสิ่งอื่นใดนอกเหนือเพื่อกอบโกยความรู้ศาสนาแล้วนำมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติและสามารถเผยแพร่แนะนำให้ครอบครัว เพื่อนฝูง และชุมชน แน่นอนการงานทุกอย่างต้องมีการตระเตรียมเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางเอาไว้ การเตรียมความพร้อมก่อนไป ถือว่าสำคัญมาก

การเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจ
1.ต้องทำใจกับความเหินห่างจากบ้าน พ่อแม่พี่น้อง เพื่อนๆ
2.ต้องมีความต้องการอันแรงกล้าในการค้นหาความรู้
3.มีความอดทนที่จะเผชิญกับความยุ่งยากต่างๆ อุปสรรคต่างๆ ขนบธรรมเนียม นิสัยใจคอคนอียิปต์ที่ต่างจากคนไทย

25 มีนาคม 2555

ประมวลภาพการสัมมนาสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร ในพระบรมราชูปถัมภ์และนักเรียนเก่าอียิปต์

ก่อนการสัมมนา



คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโรในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าพบเอกอัครราชทูต

คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโรในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าพบเอกอัครราชทูต เมื่อ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา 11.00 น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียนไทยในไคโรในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย นายกสมาคมฯ นายซาบูเลาะ  มามะ ได้นำคณะกรรมการสมาคมฯเข้าพบ ฯพณฯ ชลิต  มานิตยกุล  เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร เพื่อทำการแนะนำโฉมหน้าคณะกรรมการบริหารสมาคมฯชุดใหม่ ประจำปี 2553/2554 ณ ห้องรับรองสถานเอกอัครราชทูต พร้อมกับนำเสนอโครงการต่างๆ ที่จะจัดขึ้นในรอบปีนี้  ซึ่งในการเข้าพบครั้งนี้ ท่านเอกอัครราชทูตได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และได้ให้โอวาทพร้อมกับให้คำแนะนำการทำงานแก่คณะกรรมการสมาคมฯ หลังจากนั้น ท่านเอกอัครราชทูต ได้ให้เกียรติถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการสมาคมฯ


        ท่านเอกอัครราชทูตถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการสมาคมฯ

แจกข้าวสาร อาหารแห้ง

  ฯพณฯชลิต มานิตยกุล ออท.ได้นำ ข้าวสาร อาหารแห้ง นับหลายรายการมาแจกจ่ายกับคนไทยในอียิปต์ ท่านสามารถไปรับสิ่งของได้ที่ทำการสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโรฯ ณ วันเวลาเปิดทำการ หรือสอบถามคณะกรรมการก่อนออกจากบ้าน   ขอขอบคุณท่านออท.และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน  

                                                                           นายซาบูเลาะ มามะ 

                                                                         นายกสมาคมฯปี 2554

ท่านทูตชลิต มานิตยกุล 

 
นายกสมาคมฯถ่ายรูปกับนักศึกษาที่มารับอาหารแห้งที่สมาคมฯ

นศ.มุสลีมะห์ก็มารับอาหารแห้งด้วย

ส่วนหนึ่งของอาหารแห้งที่ได้รับมาและทำการแจกจ่ายให้มวลสมาชิก

รายการอาหารแห้งที่ได้รับมาเพื่อแจกจ่ายให้กับนักศึกษา

โครงการดูแลสุขภาพจิตและสร้างความเข้มแข็งชุมชนไทยในต่างประเทศ

ฯพณฯ จุรินทร์  ลักษณวิศิษฎ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวเรือใหญ่ในการพาคณะแพทย์และนักจิตวิทยา เดินทางมาประเทศอียิปต์เพื่อพบปะนักศึกษาและแรงงานชาวไทย ดำเนินโครงการดูแลสุขภาพจิตและสร้างความเข้มแข็งชุมชนไทยในต่างประเทศ  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกรมการกงสุล  กระทรวงการต่างประเทศ  ระหว่างวันที่ 19 21 ม.ค 2554 ที่ผ่านมา ซื่งมีฯพณฯชลิต มานิตยกุล (ออท.)และนายกสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร ในพระบรมราชูปถัมภ์( ตัวแทนนักศึกษา )ได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ณ ทำเนียบเอกอัครราชฑูต

        วัตถุประสงค์ เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือคนไทยที่พำนักใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน ที่มีปัญหาทางด้านจิดใจปัญหาความเครียดต่างๆให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นประสบความสำเร็จการดำเนินชีวิตในด่างประเทศและมีความสุขในที่สุด

องค์ประกอบ  4 ประการของการสร้างความเข้มแข็งทางใจที่สำคัญ( คู่มือคลายเครียด )

1-    รู้สึกดีกับตัวเอง ( Sense of self )

2-    จัดการชีวิตได้  (  Sense of control  )

3-    มีสายสัมพันธ์เกื้อหนุน (  Sense of  connection )

4-    มีจุดหมายในชีวิต  (  Sense of  purpose )

       มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย อัล อัซฮัร เข้าร่วมโครงการประมาณ  50 คน  นอกจากมีนายแพทย์ให้บริการตรวจสุขภาพ ฟรีแล้ว ยังมี กิจกรรมคลายเครียด บ่งบอกถึงวีธีการสร้างความเข้มแข็งทางใจ ในการดูแลสุขภาพจิตให้มีความร่าเริงอยู่เสมอโดย นักจิตวิทยาเชี่ยวชาญ นับว่าเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวไทยเป็นอย่างมาก ในการทำหน้าที่ของตนเองให้สำเร็จลุ่ล่วงเพื่อกลับไปพัฒนาประเทศชาติต่อไป
 ท่านรมต.สธ มาเยี่ยมนักศึกษาและทักทายด้วย 

ท่านรมต.สธ.และท่านทูตร่วมถ่ายรูปหมู่กับนักศึกษา
ท่าคลายเคลียดจากจิตรแพทย์

ท่านี้เรียกเสียงฮาได้ดีเช่นกัน
 คร่ำเครียดพอสมควรนะ

 แบบนี้นะน้องๆนักศึกษา...
 ตั้งหน้าตั้งตาเขียน เพราะต้องพรีเซ็นต์งานด้วย
 เราไม่แบ่งแยกชายหญิงจ้า เราเสมอ เท่าเทียมกัน
เสียงฮา ปรบมือ รอยยิ้ม คือเอกลักษณ์ของคนไทย

จะดีแค่ไหน ถ้าเราได้สมาคมฯ พร้อมห้องโถงไว้ทำกิจกรรมเป็นของตัวเอง ??? !! จะดีแค่ไหน ถ้าเราได้สมาคมฯ พร้อมห้องโถงไว้ทำกิจกรรมเป็นของตัวเอง ??? !!



      สมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโรฯ 53/54 คิดการใหญ่ เดินหน้าซื้อสำนักงานสมาคมฯ พร้อมด้วยห้องโถงใหญ่ไว้จัดกิจกรรม  หลังจากที่ฝันกันมานานกว่าครึ่งศตวรรษ...
     
แล้วพวกเราเหล่าสมาชิกสมาคมฯ จะว่าอย่างไรกัน? ถ้าเป็นจริง !!!!!!




                สำนัก งานสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโรฯ ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้น ได้เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นสำนักงาบริหารสมาคมฯ ใช้ติดต่อประสานงานทั้งส่วนราชการและทั่วไป ทั้งภายในประเทศอียิปต์ ประเทศไทยและนานาประเทศ และเป็นศูนย์รวมเหล่าสมาชิกสมาคมฯจากชมรมต่างๆ กว่า 35 ชมรม ซึ่งนับเป็นรายบุคคลได้มากกว่า 2000 คน ซึ่งการเช่าสถานที่ดังกล่าว ทำให้สมาคมฯและเหล่าสมาชิกฯไม่ได้รับประโยชน์ และความเป็นส่วนตัวอย่างเห็นได้ชัด  ด้วยเหตุผลที่เจ้าของสถานที่ที่ทางสมาคมฯเช่าอยู่นั้น ได้ผูกมัดเงื่อนไขมากมายหรือสร้างข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ทำให้สมาคมฯไม่สามารถพัฒนาเดินหน้าไปได้แต่อย่างใด มิหนำซ้ำค่าเช่าสถานที่ที่เช่าอยู่ปัจจุบันนี้ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทุกสาม เดือน ซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินความเหมาะสมหากนำมารวมกันหลายๆปี ก็จะได้จำนวนเงินที่คิดได้เป็นตัวเลขมหาศาล ....

          จากผลการสำรวจในความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ต่อการที่ต้องมีสำนักงานสมาคมฯพร้อมด้วยห้องโถงอย่างเป็นเอกสิทธิ์นั้น กล่าวคือ สำนักงานสมาคมฯจะเป็นที่ทำการอย่างเต็มรูปแบบ รองรับเหล่าสมาชิกฯได้มาติดต่อประสานงานในเรื่องต่างๆหรือรองรับคณะบุ คลสำคัญที่เวียนมาเยือนประเทศอิยิปต์ เพื่อที่จะพบปะนักศึกษาไทยในอิยิปต์ส่วนห้องโถงใหญ่ซึ่งสามารถจุคนได้ประมาณ 500 คนก็มีไว้เพื่อจัดกิจกรรมทั้งเชิงวิชาการหรือกิจกรรมนันทนาการหรือกิจกรรม อื่นๆจากชมรมต่างๆในสังกัดสมาชิกสมาคมฯ ที่มักเวียนมาใช้สถานที่จัดกิจกรรมชมรมอยู่ตลอดเวลา.......
           และนี่คือสถิติในรอบปีที่ผ่านมา ที่เสียค่าใช้จ่ายไปกับการเช่าที่ทำการสมาคมฯ และเช่าห้องโถงจัดงาน   แจงรายละเอียดได้ดังนี้
1.    ค่าเช่าสมาคมเดือนละ 17,500 บาท ตกปีละ 210,000 บาท
2.  ค่าเช่าห้องโถงเพื่อจัดงานตามวาระต่างๆในรอบหนึ่งปี ตกปีละ 180,000  บาท
3.     อื่นๆ (ยังไม่รวมค่าเช่าสนามกลางแจ้ง)
      ในรอบหนึ่งปี ต้องจ่ายค่าเช่าไปทั้งสิ้น 390,000 บาท  (ตามตัวเลขข้อ 1และข้อ2 เท่านั้น)

แล้วถ้าพวกเราทำได้ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นตามมา

1.    เป็นศูนย์กลางของนักศึกษาไทยจำนวนมากว่า 2,000 คน
2.   เป็นที่ทำการบริหารสมาคมฯ
3.   เป็นสถานที่ต้อนรับคณะบุคคลสำคัญต่างๆทั้งในและนอกประเทศ
4.   เป็นสถานที่เรียนหนังสือในช่วงปิดภาคเรียน และติวเตอร์ก่อนสอบ
5.   เป็นที่จัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมของสมาคมฯและกิจกรรมของชมรมต่างๆกว่า 35 ชมรม
6.   เป็นความภาคภูมิใจ เป็นหน้าเป็นตาของคนไทย และสมเกียรติกับการอยู่ใต้พระบรมราชูปถัมภ์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 ขอเชิญพวกเรา สมาชิกสมาคมฯ ลองมาแสดงความคิดเห็นกันดูน่ะครับ

คณะกรรมการสมาคมฯและคณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภาร่วมถกปัญหาการศึกษา

     เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 เวลา 16.00 . นายกสมาคมฯนายซาบูเลาะ มามะ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯนายทวีศักดิ์  บุญทิพย์  นายภาคิน อานันท์  นายศักดิ์ดา  โซะเฮง และนายเอกรัฐ พิทักษ์เมทานนท์ เดินทางเข้าพบนายโชติรัส  ชวนิชย์  ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา พร้อมคณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา ประกอบไปด้วย นายภิญโญ  สายนุ้ย เลขานุการคณะกรรมาธิการ นายสุริยา  ปันจอร์  โฆษกคณะกรรมาธิการ และนายเจริญ  ภักดีวานิช กรรมาธิการ พร้อมด้วย ฯพณฯ ชลิต  มานิตยกุล  เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร ห้องรับรองของสถานทูต   เพื่อปรึกษาหารือปัญหาต่างๆด้านการศึกษา และการเป็นอยู่ของนักศึกษาไทยในประเทศอิยิปต์ โดยปัญหาส่วนใหญ่ได้มุ่งเน้นไปที่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่สมัครเรียนในปีการศึกษา 52/53 ที่ผ่านมา ซึ่งไม่สามารถเข้าเรียนได้ทันทีอย่างที่เคยเป็นมา เพราะทางมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ได้เปลี่ยนระเบียบการเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ จากที่ไม่มีการสอบเข้า มาสู่ระบบการสอบคัดเลือกเข้าเรียน ทั้งนักศึกษาทุนและนักศึกษาทั่วไปซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมเสนอแนะที่จะปฏิรูประบบการเรียนการสอนในระบบปอเนาะให้สอดคล้องและรองรับกับระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรให้มากขึ้นต่อไป
นายชลิต มานิตยกุล ออท.รับของที่ระลึกจากประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา
 
นายทวีศักดิ์  บุญทิพย์รับของที่ระลึกจากประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา
 
 
นายเอกรัฐ พิทักษ์เมทานนท์รับของที่ระลึกจากประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา
 
นายศักดิ์ดา  โซะเฮงรับของที่ระลึกจากประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา
 
นายภาคิน อานันท์ รับของที่ระลึกจากประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา
 
 

งานฉลองอีดิลอัฎฮา อำลาพี่

     ร่วมงานฉลองอีดิลอัฎฮา อำลาพี่ ณ บ้านคุณจิราศักดิ์ จันทร์ผ่อง (กอเดร์ อะหมัดซาอีด) เมื่ือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งเป็นวันอีกแรกอีกด้วย

   เปิดงานด้วยการอ่านอัลกุรอ่าน
มอบรางวัลให้กับผู้ช่วยงานต่างๆ
มอบรางวัลให้ผู้ขับร้องอนาซีดน่าใสครับ
----------------------------------------------------------------------

 ร่วมสัมมนาที่บะห์รียะห์
ครงการสัมมนาการทำงานระหว่างคณะกรรมการสมาคมฯชุดใหม่และชุดเก่า โดยสถานเอกอัครราชทูตฯร่วมกับสมาคมฯ ณ บะห์รียะห์ ระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2554
 
ไม่ต้องบรรยายครับ หล่อๆทั้งนั้นๆ

บรรยากาศช่วงสัมมนา

ถ่ายรูปหมู่กันหน่อย

มุฮัมมัด อากีฟ คนสำคัญที่ต่อต้านแนวความคิดของมุสตอฟา เคมาล

     ปัญญาชนคนสำคัญที่ต่อต้านแนวความคิดของมุสตอฟา เคมาล เกี่ยวกับเรื่องคอลีฟะฮ คือมุฮัมมัด อากีฟ เขาเผยแพร่แนวความคิดของเขาในวารสาร "Siratil Mustakim " (หนทางที่เที่ยงตรง) เขากล่าวว่าการใช้อำนาจเผด็จการของสุลต่าน อับดุลฮามีด ได้ละเมิดระบบคอลีฟะฮ เช่นเดียวกับพวกยังเตอร์กที่นิยมเซคคิวล่าร์ (Secularism) อากีฟต้องการให้นำเอารูปแบบของประชาธิปไตยในอิสลามที่มีผู้แทนให้คำปรึกษา ต่อผู้ปกครองเหมือนอย่างกับที่ปฏิบัติในประวัติศาสตร์อิสลามสมัยแรก เขาคัดค้านการนำเอาสถาบันการปกครองแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในตรุกี เขาต่อต้านนโยบายชาตินิยมอย่างบ้าคลั่ง และละทิ้งประชากรมุสลิมที่เคยร่วมอยู่ในอาณาจักรออตโตมาน อารยธรรมตะวันตกนั้นถ้ารับมาทั้งหมดจะทำลายคุณค่าทางจริยธรรมของอิสลาม มุสลิมจะต้องหันหลับไปหาคุณค่าแบบดั่งเดิมของอิสลาม ถ้าต้องการรอดพ้นจากลิทธิจักรวรรดินิยม มุสลิมควรรับเฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตก ปฏิเสธระบบการปกครองอย่างพวกตะวันตกซึ่งจะทำให้มุสลิมอ่อนแอลง มีช่องว่างระหว่างพวกปัญญาชน



 มุสตอฟา เคมาล

      แม้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นปัญญาชนต้องการเลียนแบบตะวันตกทุกอย่าง แต่ประชาชนรู้ว่านั่นเป็นสาเหตุของความล้มเหลว หนทางที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้านั้นต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของ สังคมนั้นๆ ด้วย นั่นคือหนทางของโลกอิสลามไม่ใช่หนทางของตะวันตก ถ้าจะพิจารณาถึงแนวความคิดสองแนวนี้จะเห็นได้ว่าต่างกันอย่างชัดแจ้ง มุสตอฟา เคมาล มองว่า คอลีฟะฮไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ในการกล่าวปราศรัยกับโลกมุสลิมหรือถ้ามีหนังสือติดต่อกับมุสลิมในประเทศอื่น ก็ควรกล่าวในฐานะที่คอลีฟะฮได้รับเลือกจากรัฐสภาตรุกีแต่คอลีฟะฮอับดุลมายี ดกระทำตนเกินขอบเขตที่มุสตอฟา เคมาลขีดไว้กระทำตนเป็นผุ้นำโลกมุสลิม ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกับความคิดของมุสตอฟา เคมาลอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้มุสตอฟามองตำแหน่งคอลีฟะฮเป้นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของ ประเทศ ถ้ายังคงตำแหน่งนี้ไว้ก็จะทำให้ประเทศอื่นมองตุรกีเป็นประเทศล้าหลัง

       ส่วนกลุ่มที่คัดค้านเคมาลนั้นพยายามมองระบบคอลีฟะฮในลักษณะดั่งเดิมและจะนำ เอาระบบคอลีฟะฮที่แท้จริงมาใช้ในทัศนะของกลุ่มนี้มองสุลต่านแห่งออตโตมานว่า มิใช่ระบบคอลีฟะฮที่สมบูรณ์เป็นระบบผสมผสานระหว่างสมบูรณาญาสิทธิราชกับคอลี ฟะฮ ดังนั้นควรทำให้ตรุกีเป็นสาธารณรัฐอิสลามเหมือนอย่างสมัยแรก ไม่เห็นด้วยกับคำพูดของมุสตอฟาที่ว่า"การดำรงอยู่ของตำแหน่งคอลีฟะฮเป็นการ ทำลายสาธาณรัฐ"เพราะถ้าพิจารณาถึงระบบคอลีฟะฮที่แท้แล้ว คอลีฟะฮไม่ได้เป็นองค์อธิปัตย์มีอำนาจที่จะทำอะไรได้ตามใจชอบ ตำแหน่งคอลีฟะฮเป้นเพียงผู้แทนในการใช้อำนาจได้มาโดยการเลือกตั้งและ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม ไม่สามารถใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด การสืบทอดตำแหน่งโดยการสืบราชวงศ์ตามสายเลือดนั้นเป็นการนำเอาระบบอื่นเข้า มาปะปน ซึ่งกลุ่มนี้พยายามที่จะขจัดออก ผู้ที่จะมาเป็นคอลีฟะฮต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ในกฎหมายอิสลาม (Shari'a) ระบบคอลีฟะฮนั้นถือว่ากฎหมายอิสลามเป็นธรรมนูญสูงสุด กำหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้ในชุมชนจะขัดแย้งกับกฎหมายอิสลามไม่ได้ สมาชิกรัฐสภาไม่ว่าจะมีคะแนนเสียงเท่าใดไม่อาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายอิสลามได้ ซึ่งจะแตกต่างกับระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ระบบคอลีฟะฮมิได้กีดขวางความเจริญรุ่งเรืองหรือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เพราะถ้าพิจารณาจากประวัติศาสตร์ในสมัยอับบาสียะห์ จะเห็นว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการสาขาต่างๆ รวมทั้งทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เจริญกว่ายุโรปในสมัยเดียวกันเสียอีก ดังนั้นการหยุดชงักทางวิชาการของอาณาจักรออตโตมานจึงเป็นเรื่องที่ไม่ อาจกล่าวสาเหตุมาจากระบบคอลีฟะฮ แต่ถ้าจะกล่าวระบบคอลีฟะฮขัดขวางการนำเอาระบบการดำเนินชีวิตทั้งหมดทุกด้าน ของตะวันตกมาใช้นั้นย่อมเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง กลุ่มที่คัดค้านวามคิดของมุสตอฟา เคมาล มองเห็นความจำเป็นที่จะพิจารณาเลือกศึกษาเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจากตะวันตกเท่านั้น เพราะออตโตมานล้าหลังพวกตะวันตกก็เฉพาะด้านนี้ จึงไม่จำเป็นต้องนำเอาวัฒนธรรมอย่างอื่นมา ดร.ไอ มาติน คุนท์ (Dr. I. Metin Kunt) สรุปว่า การที่ออตโตมานตกเป็นเบี้ยล่างพวกตะวันตกก็เพราะว่าเทคโนโลยีของออตโตมานถูก หยิบยืมไปและออตโตมานเองในระยะหลังนี้ก็ไม่พยายามพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสร้างเรือรบและอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่ออาณาจักรออตโตมานพลาดโอกาสนี้แล้วจึงตกเป็นฝ่ายล้าหลัง
 
อ้างจากเอกสารประกอบการสอนรายวิชา หลักการบริหารในอิสลาม 3 เรียบเรียงโดย อาจารย์ อับดุลเล๊าะห์ อุมา อาจารย์ประจำสาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

อุมัรฺ อิบนุ อับดุล อะซีซ คอลีฟะฮคนที่ 8 แห่งราชวงศ์อุมัยยะห์แห่งซีเรีย

อุมัรฺ อิบนุ อับดุล อะซีซ
บุรุษผู้เหวี่ยงอิสลามเข้าสู่สายลม

 โดย อัล อัค
      ในการศึกษาประวัติศาสตร์อิสลาม เรื่องหนึ่งที่ตะขิดตะขวงใจผมมากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ ทำไมเหล่านักคิดนักเขียนและอุละมาอ์มุสลิมจึงพากันยกย่องเคาะลีฟะฮฺคนที่ 8 แห่งราชวงศ์อุมะวียะฮฺ ที่ชื่อว่า อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ กันนักหนา ทุกคนยกย่องตรงกันอย่างเอกฉันท์ว่า เขาคือนักฟื้นฟู(มุญัดดิด)แห่งศตวรรษที่หนึ่งแห่งอิสลาม บางคนยกย่องให้เป็นนักฟื้นฟูในอุดมคติที่มิอาจหาใครเทียบได้อีกแล้ว บางคนยกย่องเขาให้เป็นคนยุคหลังเศาะฮาบะฮฺที่ดีที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุด

     แน่นอนที่สุดครับ ท่านเป็นผู้ปกครองรัฐอย่างดีเยี่ยมตามแนวทางอิสลามอย่างที่ไม่มีเคาะลีฟะ ฮฺคนใดในราชวงศ์ทั้งหมดสามารถเปรียบเทียบกับท่านได้ ท่านถูกเรียกว่าเป็น เคาะลีฟะฮฺ เราะชีดีน คนที่ 5 (สี่คนแรกคือ อบูบักร อุมัร อุษมาน และอาลี) อันนี้เถียงไม่ออกอย่างแน่นอน

     แต่ความไม่ประสีประสาของผมในตอนนั้น ผมแย้งว่า แม้ท่านจะสร้างสังคมที่อุดมคติมาก ๆ จนมีบางคนเกือบจะเข้าใจไปแล้วว่า อยู่ในยุคของอัล-มะฮฺดี แต่ท่านอยู่ในตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ 2 ปี 5 เดือน (ปี ค.ศ. 717-720 / ฮ.ศ. 99-101) แล้วหลังจากสถานการณ์ของเคาะลีฟะฮฺต่าง ๆ ก็กลับไปสู่บรรยากาศที่เลวร้ายอีก แล้วมีประโยชน์อะไรเล่ากับการเป็นเคาะลีฟะฮฺเพียง 2 ปี 5 เดือน !!!

     แต่หลังจากผมลงไปอ่านหนังสือที่วิเคราะห์ท่านบางเล่ม โดยเฉพาะงานของซัยยิด อบุล ฮะซัน อัน-นัดวียฺ และงานของซัยยิด อบุล อะอฺลา เมาดูดียฺ ผมยอมรับครับว่า ความคิดของผมผิดพลาดไปอย่างใหญ่โต

รู้จักภูมิหลังของของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ
     อุมัร อิบนุอับดุล อะซีซ เกิดในปีค.ศ. 681 (ฮ.ศ 61) ที่ไคโร อิยิปต์ ขณะนั้นบิดาของท่านเป็นผู้ปกครองอิยิปต์ มารดาของท่านชื่อว่า อุมมุ อาศิม ลัยลา บุตรสาวของ อาศิม ซึ่งอาศิมท่านนี้เป็นบุตรชายคนหนึ่งของเคาะลีฟะฮฺอุมัร อิบนิ อัล-คอฏฏ็อบ ดังนั้น มารดาของท่านถือว่าเป็นหลานสาวแท้ ๆของเคาะลีฟะฮฺ อุมัร อิบนฺอัล-ค็อฏฏอบ ด้วยเหตุนี้บางครั้งท่านอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ จึงถูกอ้างถึงท่านอุมัร อิบนฺ อัล-ค็อฏฏอบ มากกว่าจะเป็นคนในราชวงศ์อุมาวียะฮฺเสียอีก และคนมักจะเรียกว่าท่านว่า อุมัรที่ 2

     บิดาของอุมัร อิบนุ อับดุลอะซีซ เป็นบุตรชายคนหนึ่งของเคาะลีฟะฮฺ มัรวาน อิบนฺหะกัม แห่งราชวงศ์อุมาวียะฮฺ บิดาของท่านเคยอยู่ในฐานะรัชทายาทของเคาะลีฟะฮฺอับดุลมาลิก อิบนฺมัรวาน(ปกครองในช่วง ค.ศ. 685-705 / ฮ.ศ. 65-86) ซึ่งเป็นพี่ชายของบิดาท่าน แต่บิดาของท่านได้เสียชีวิตเสียก่อนจะรับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ ดังนั้น อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ จึงเติบโตในฐานะ “เจ้าชาย” ที่สำคัญคนหนึ่งของราชวงศ์นี้

    อุมัร อิบนฺอับดุล อะซีซ เติบโตขึ้นมาในช่วงเวลาที่ยังมีเศาะหาบะฮฺบางคนยังมีชีวิตอยู่ และเป็นสมัยที่ศิษย์ของเศาะฮาบะฮฺมีจำนวนมาก(เรียกว่า ตาบิอีน) ท่านได้รับการศึกษาด้านอิสลามอย่างดีเยี่ยม ท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มตั้งแต่ยังเยาว์ เป็นที่ปลื้มปิติแก่บิดาและมารดาของท่านมาก จนกระทั่งได้ส่งท่านไปศึกษาต่อที่นครมะดีนะฮฺ

     อุมัร อิบนุอับดุล อะซีซ ได้มุ่งมั่นการศึกษาหาความรู้จนกระทั่งท่านมีความรู้ด้านหะดีษฟิก ฮ(นิติศาสตร์อิสลาม)อย่างลึกซึ้ง จนเป็นที่รู้จักกันดีว่า ท่านคือปราชญ์แถวหน้าคนหนึ่งในสาขาวิชาดังกล่าว ดังนั้น จากความรู้นี้เองทำให้ง่ายสำหรับท่านที่จะรู้และเข้าถึงฐานรากของสังคมใน สมัยที่ท่านนบีมุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่

    ชีวิตส่วนตัวของอุมัร อิบนฺอับดุล อะซีซ เป็นคนที่มีความยำเกรงต่อพระเจ้า รักความยุติธรรม ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีความสมถะ ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอย่างดีเยี่ยม ท่านเป็นคนช่างคิดช่างไตร่ตรองตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ครั้งหนึ่งท่านนั่งเงียบ ๆ มารดาท่านถามว่า กำลังคิดอะไรอยู่หรือ? ท่านบอกว่า “ลูกกำลังคิดถึงความตาย” คำตอบท่านทำให้มารดาท่านถึงกับน้ำตาไหล

      เนื่องจากท่านอุมัร เป็น “เจ้าชาย” คนหนึ่งในราชวงศ์อุมะวียะฮฺ ทำให้ท่านมีประสบการณ์ในการทำงานเป็นข้าหลวงคนสำคัญมาก่อน ก็คือการเป็นผู้ปกครองเมืองมะดีนะฮฺในสมัยเคาะลีฟะวะลีด อิบนฺ อับดุล มาลิก

    ในการเป็นเจ้าเมืองนั้น ท่านอุมัรปกครองอย่างยุติธรรม ท่านจะไม่ตัดสินคดีใดเว้นแต่ปรึกษากับทีมนักปราชญ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสะอีด บิน มุสัยยิบ ผู้เป็นตาบีอีนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักปราชญ์และนักปกครอง ท่านได้นำละหมาดผู้คนในทุกเวลา ท่านอิหม่ามมาลิกมีชีวิตท่านในสมัยนั้นได้เล่าว่า “ฉันไม่เคยรู้สึกว่าละหมาดตามหลังใคร จะเหมือนดั่งการละหมาดตามหลังเราะซูล มากไปกว่าการได้ละหมาดตามหลังอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ”

     ความเป็นผู้ปกครองของท่านเริ่มส่งความเป็นอัจฉริยะเท่า ๆ กับความเป็นนักปราชญ์ของท่าน ว่ากันว่าหากท่านไม่เป็นผู้ปกครอง ท่านจะเป็นปราชญ์คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของอิสลาม นักวิชาการบางคนกล่าวว่า ท่านมีความรู้ที่เหนือกว่าหะซัน อัล-บัศรียฺ ในสมัยนั้นเสียอีก อย่างไรก็ตาม ท่านก็มีโอกาสถ่ายทอดความรู้บ้าง และมีลูกศิษย์อยู่จำนวนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ต่อมาฐานะเป็นผู้ปกครองมะดีนะฮฺของท่านก็ถูกท้าทายจากฮัจญาจ บิน ยูซุฟ เจ้าเมืองอิรักซึ่งขึ้นชื่อในการเป็นผู้อธรรม เขาได้ฟ้องเคาะลีฟะฮฺว่า อุมัรได้คุ้มครองพวกขบถในอิรักที่หนีมาพักพิงในมะดีนะฮฺเสมอ จนนำไปสู่การปลดท่านออกจากตำแหน่งข้าหลวงนครมะดีนะฮฺ

     ดูเหมือนว่า การดำรงอยู่ในอำนาจของท่านจะยุติลงแล้ว แต่ก็มีสิ่งที่อยู่เหนือการคาดคิดของผู้คนก็เกิดขึ้น หลังจากการจากไปของเคาะลีฟะฮฺ สุลัยมาน อิบนฺ อับดุล มาลิก(เคาะละฟะฮฺที่สืบต่อจากวะลีด อิบนฺ อับดุล มาลิก ) ได้มีการเปิดพินัยกรรมคำสั่งเสียของเคาะลีฟะฮฺ ปรากฏว่ามีการแต่งตั้งตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺให้กับอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ซึ่งท่านมีศักดิ์เป็นแค่ลูกพี่ลูกน้องกับเคาะลีฟะฮฺเท่านั้นเอง และนี่การก้าวสู่ตำแหน่งสูงสุดของโลกอิสลาม ...

     ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำสูงสุดของโลกอิสลาม
อุ มัร อิบนุ อับดุล อะซีซ อยู่ในตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺระหว่างปี ค.ศ. 717-720(ฮ.ศ. 99-101) ถือว่าเป็นเคาะลีฟะฮฺที่ได้มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดของราชวงศ์อุมะวียะฮฺ และยังคงเป็นเคาะลีฟะฮฺที่ดีที่สุดหลังจากเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมทั้งสี่คน ตลอดประวัติศาสตร์จนถึงทุกวันนี้

อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ใช้ชีวิตในแบบของเคาะลีฟะฮฺ ผู้ได้รับทางนำในอดีต ท่านใช้เงินเพียงวันละ 2 ดิรฮัม และสวมเสื้อผ้าธรรมดา ๆ เหมือนคนยากจน กล่าวกันว่าในวังของท่านนั้น ไม่มีใครทายถูกว่าคนไหนคือเคาะลีฟะฮฺ ท่านมีภรรยาเพียงคนเดียว ท่านยกเลิกฮาเร็ม ลักษณะและการเป็นอยู่ของท่านทำให้ดูเหมือนจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งเคาะลีฟะ ฮฺจากอุมัร อิบนฺ อัล-ค็อฏฏอบ แทนที่จะเป็นสุลัยมาน อิบนฺ อับดุล มาลิก

    ภารกิจแรกเริ่มของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ก็คือการปฏิรูปเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของประชาชนจากการกระทำของระบอบปกครองของราชวงศ์อุมะวียะฮฺ ท่านเริ่มตรวจสอบกิจการงานต่างๆของรัฐ มีการปลดผู้ปกครองบางคนออกจากตำแหน่ง ในเมื่อสงสัยว่ามีพฤติกรรมที่ทุจริต และได้มีการแต่งตั้งผู้ที่มีความยุติธรรมให้ดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างระบอบการปกครองที่ยุติธรรม

    นอกจากนี้ อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ได้ฟื้นฟูกฎหมายอิสลามพร้อมกับการนำไปใช้อย่างยุติธรรม ท่านกำชับให้ผู้ปกครองในการดูแลของท่านเอาใจใส่ต่อการปกครองด้วยความ ยุติธรรม และไม่อนุญาตให้ลงฑัณฑ์ขั้นอุกฉกรรจ์ เช่น การตัดมือ การประหารชีวิต จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากท่านเสียก่อน การเน้นความยุติธรรมและความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย ทำให้ความนิยมในกฎหมายอิสลามจึงได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง

     ในสมัยของท่านได้เน้นโครงการสวัสดิการอย่างมากมาย การสร้างที่พักคนเดินทาง การขุดบ่อน้ำและคลองในหลายพื้นที่ และมีการอุปถัมภ์คนยากจนและเด็กกำพร้า และอื่น ๆ อีกมากมาย

     อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ยังเป็นผู้กำหนดนโยบายใหม่ต่อกลุ่มต่อต้านต่าง ๆ โดยใช้คำสอนอิสลามเข้ามาปรองดอง ดังเช่นการปฏิบัติกับกลุ่มชีอะฮฺ ท่านได้ปรับวิธีการปฏิบัติเสียใหม่ ดังเช่นเดิมนั้นคนในราชวงศ์อุมะวียะฮฺมักใช้เวทีปราศรัยสาปแช่งอะลียฺในการ ละหมาดวันศุกร์ ท่านเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการอิสลาม จึงออกคำสั่งให้หยุดการกระทำเช่นนั้นเสีย และให้อ่านโองการของอัลกุรอานที่มีความหมายนี้แทน นั่นคืออายะฮฺที่ว่า “แท้ จริงพระองค์อัลลออฮฺทรงกำชับให้มีความยุติธรรม และมีคุณธรรมบริจาคแก่ญาติใกล้ชิด และทรงห้ามปรามความชั่วช้าและการละเมิด พระองค์ทรงเตือนสูเจ้าทั้งหลาย มาตรว่า สูเจ้าทั้งหลายจะรำลึก”(สูเราะฮฺ อัล-นะหฺลฺ อายะฮฺที่ 90)

     ขณะ เดียวกันอุมัร อิบนฺ อับดุล อะซีซ ก็ตักเตือนในการที่กลุ่มชีอะฮฺมักจะด่าทอเศาะหาบะฮฺอยู่เสมอท่านได้กล่าวว่า “ขณะที่อัลลอฮฺทำให้เลือดของพวกเขาสะอาด แต่พวกท่านกำลังทำให้ลิ้นของพวกท่านสกปรก”

     ภารกิจสำคัญอย่างมากของอุ มัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ก็คือ การปฏิรูปบัยตุล มาล(คลังสาธารณะ) เนื่องจากเคาะลีฟะฮฺคนก่อน ๆ ได้ยึดมาเป็นของตนเอง และนำไปใช้จ่ายตามอำเภอใจ อีกทั้งคนในราชวงศ์อุมะวียะฮฺและผู้มีอิทธิพลได้ยึดเอาทรัพย์สินสาธารณะมา เป็นของตนเองอย่างมากมาย ท่านจึงออกคำสั่งให้มีการนำทรัพย์สินเหล่านั้นมาคืนแก่คลังสาธารณะ มาตรการนี้ถูกคัดค้านจากพวกคนชั้นสูงอย่างหนัก แต่ก็ไม่เป็นผล ท่านสามารถผลักดันมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ ท่ามกลางความพึงพอใจของประชาชน

     อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ตระหนักดีถึงความมั่งคั่งและทรัพย์สินได้เปลี่ยนแปลงนิสัยของเคาะลีฟะฮฺและ ชนชั้นปกครองไปอย่างไร และได้สร้างความเสียหายเพียงไรให้อาณาจักร ท่านได้วางมาตรการที่เข้มงวดในการตรวจสอบคลังสาธารณะ แม้แต่อัญมณีส่วนตัวของภรรยาของท่านก็ถูกนำมาเก็บไว้ที่คลังสาธารณะ ตัวท่านเองไม่เคยเบิกสิ่งใดจากคลังสาธารณะเลย หลังจากเสร็จราชการในยามค่ำคืน ท่านจะดับตะเกียงที่เป็นของคลังสาธารณะก่อน หากจะทำงานส่วนตัว

     อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ยังได้หันมาเอาจริงเอาจังกับเรื่องการจัดเก็บภาษี ท่านเห็นว่ามีทรัพย์สินจำนวนมากที่ได้ถูกเรียกเก็บจากบรรดามุสลิมอย่างไม่ เป็นธรรม ดังนั้น ท่านจึงได้สั่งให้บรรดาผู้ปกครองตามเมืองต่าง ๆ ยุติการเก็บทรัพย์สินดังกล่าว พร้อมกับได้ลดอัตราการจับเก็บภาษีด้วย บรรดาเคาะลีฟะฮฺก่อนหน้าท่านได้ยึดครองที่ดินของประชาชนโดยไม่ชอบธรรม ท่านจึงสั่งให้คืนที่ดินให้แก่เจ้าของเดิมของเขา ถ้าหากว่าเจ้าของเดิมไม่มีที่อยู่ก็ให้มอบที่ดินดังกล่าวให้กับกองคลังกลาง

    อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ พยายามขัดขจัดความเดือดร้อนของประชาชนโดยการยกเลิกภาษีต่าง ๆ ทั้งหมดที่กำหนดขึ้นโดยขัดกับกฎหมายอิสลาม คงเหลือแต่ภาษีที่สอดคล้องกับกฎหมายอิสลามเท่านั้น ท่านได้กล่าวถ้อยคำที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์อิสลามว่า “มุฮัมมัดถูกส่งมาเป็นผู้เชิญชวน(สู่สัจธรรม) ไม่ได้ถูกส่งมาเป็นคนเก็บภาษี”

     การปฏิรูปทางเศรษฐกิจของเขากระจาย ความมั่งคั่งไปสู่ชนชั้นล่าง ทำให้ประชาชนไม่ต้องแบกรับภาษีที่หนักเกินไป และสามารถยืนบนขาของตัวเองได้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือพวกเขาสามารถยกระดับมาตรฐานชีวิตจากสภาพที่ยากจนได้ สำเร็จ และเป็นครั้งแรกที่อาณาจักรอิสลามไม่มีคนยากจนมารับซะกาต ดังการรายงานของยะหฺยะ อิบนฺ สะอีด ซึ่งเป็นคนที่อุมัร อิบนฺ อับดุล อะซีซ ส่งไปเก็บซะกาตในแอฟริกา เมื่อเขาเก็บซะกาตได้ก็เริ่มหาคนรับซะกาต แต่เข้าได้แจ้งกลับมาว่า ไม่พบคนยากจนที่จะมารับซะกาตแม้แต่คนเดียว

     การปฏิรูปทั้ง “ระบอบการบริหาร” และ “ระบอบการคลัง” ที่มีประสิทธิภาพตามหลักการอิสลาม ทำให้ประชาชนในอาณาจักรอิสลามได้สัมผัสกับระบอบการปกครองที่ยุติธรรมอย่าง แท้จริง

     ภารกิจที่ยิ่งใหญ่
ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ได้เกิดขึ้นหลังจากการปฏิรูปสังคมให้ยุติธรรม ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้

1. ปรากฏการณ์คลื่นผู้คนไหลบ่าสู่อิสลาม
ผล ของความยุติธรรมในนโนบายของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ได้สร้างความยุติธรรมไม่เพียงแค่มุสลิมเท่านั้น คนไม่ใช่มุสลิมก็สัมผัสได้เช่นกัน ทำให้ในสมัยของท่านเป็นสมัยที่ได้สร้างแรงดึงดูดใจในการเข้ารับอิสลามอย่าง มากที่สุดจนยากจะหาสมัยใดในประวัติศาสตร์เปรียบได้

ความจริงเคาะลีฟะฮฺคนก่อน ๆ ไม่ค่อยสนใจการเผยแผ่อิสลามเท่าที่ควร อีกทั้งพฤติกรรมส่วนตัวยังเป็นอุปสรรคในการเข้ารับอิสลามของผู้คนเสียด้วย ซ้ำไป ดังนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ในดินแดนที่ถูกพิชิตจึงยังคงนับถือศาสนาเดิม ๆ ของพวกเขาอยู่

แต่ในสมัยของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ได้สะท้อนคำสอนอิสลามจากทฤษฎีไปสู่ปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัดเจน ทำให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญให้กับดินแดนต่าง ๆ ที่มุสลิมได้ขยายตัวเข้าไปครอบครอง นั่นคือการก่อให้เกิดคลื่นของผู้คนที่หันมารับอิสลามอย่างกว้างขวางที่สุด

ความ พยายามของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ในการเผยแผ่อิสลามไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่สร้างสังคมที่ยุติธรรมเพื่อดึงดูด ใจคนมิใช่มุสลิมเท่านั้น ท่านยังได้ส่งสาส์นเผยแผ่อิสลามไปยังดินแดนต่าง ๆ นอกอาณาจักรอิสลามอีกด้วย ท่านอุมัรได้จัดส่งสาส์นไปยังราชาต่าง ๆ ในอินเดีย 7 คน เพื่อเชิญชวนพวกเขาเข้ารับอิสลาม ซึ่งบรรดาราชาจำนวนมากได้ตอบสนองคำเชิญชวนนี้ และได้เปลี่ยนชื่อของมาเป็นภาษาอาหรับ

ท่านยังได้ส่งสาส์นและนักเชิญ ชวนไปสู่เผ่าเบอร์เบอร์ต่าง ๆ ในแอฟริกาเหนือมาสู่อิสลาม ผู้คนจำนวนมากได้ตอบรับคำเชิญชวนนี้และเป็นผลให้มุสลิมกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ ในแอฟริกาเหนือมาจนถึงวันนี้ ท่านยังส่งสาส์นและนักเชิญชวนไปยังดินแดนในเอเชียกลาง และส่งผลให้พวกเขาจำนวนมหาศาลเข้ามาสู่อิสลาม

เนื่องจากการดำเนิน นโยบายให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา การนำเสนออิสลามทั้งทฤษฎีและปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้คนที่มิใช่มุสลิมเข้ารับอิสลามเป็นกลุ่ม ๆ ได้อย่างง่ายดาย ในสมัยนี้จึงเป็นยุคที่คนไม่ใช่อาหรับได้กลายมาเป็นมุสลิมอย่างมากมาย และเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในการร่วมสร้างอารยธรรมอิสลามในสมัยต่อมา

การ เข้ารับอิสลามของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ ทำให้คลังสาธารณะขาดภาษีญิซยะฮฺ ซึ่งเป็นภาษีรายหัวของประชาชนที่มิใช่มุสลิม ทำให้ไม่เป็นที่พอใจแก่พวกชนชั้นปกครองที่เกรงว่าเงินคลังสาธารณะจะหมดไปใน ที่สุด แต่อุมัร อิบนฺ อับดุล อาซีซได้ตอบกลับไปว่า “ฉันจะยินดีมากหากคนที่ไม่ใช่มุสลิมทั้งหมดเข้ารับอิสลาม(จนคลังสาธารณะไม่ มีเงิน) แล้วท่านกับฉันต้องไปไถพรวนดินกันเพื่อยังชีพ”

2. กระบวนการพิทักษ์และส่งผ่านสัจธรรม
จุด เด่นของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ก็คือ ท่านเป็นผู้มีความเข้าใจลึกซึ้งในคำสอนอิสลาม มีความรู้ในระดับปราชญ์คนหนึ่งที่ได้รับการศึกษาอิสลามมาอย่างดี กระทั่งมีผู้กล่าวว่า บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้นต่างเป็นนักศึกษาร่วมรุ่นกับท่านทั้งนั้น

การ เป็นผู้รู้อย่างลึกซึ้งในอิสลามนี่เอง อุมัรจึงได้เริ่มงานที่สำคัญที่สุดชิ้นต่อมา นั่นคือ การสนับสนุนปราชญ์อิสลามให้เคลื่อนไหวทางความวิชาการ จัดเก็บรวบรวมและพิทักษ์รักษาคำสอนอิสลามเอาไว้ ท่านจึงได้ติดต่ออย่างใกล้ชิดกับปราชญ์จำนวนมาก เพื่อทำให้ภารกิจดังกล่าวประสบผลสำเร็จ

การจัดรวบรวมและจัดระเบียบคำ สอนอิสลาม ทำให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เร่งด่วน 2 เรื่องสำคัญ นั่นคือ การรวบรวมและการพิทักษ์รักษาหะดีษ กับการจัดวางคำสอนอิสลามให้คนทั่วไปสามารถปฏิบัติได้อย่างง่ายดายในรูปแบบ ของฟิกฮฺหรือนิติศาสตร์อิสลาม

ดังนั้น ศาสตร์สำคัญที่สุดที่ได้รับการเรียกร้องให้มีการพิทักษ์ชำระให้บริสุทธิ์ก็ คือ หะดีษ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของคำสอนอิสลามรองจากอัล-กุรอาน ดังนั้น นับแต่สมัยของอุมัร อิบนฺ อับดุล อะซีซ เป็นต้นมา ก็ได้เกิดการบันทึกหะดีษ การตรวจสอบหะดีษอย่างแพร่หลาย และส่งผลตามมาต่อการจัดระบอบนิติศาสตร์โดยนักวิชาการจำนวนมาก

การเรียกร้องที่เอาจริงเอาจังของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ในเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประวัติศาสตร์อิสลาม นักวิชาการอิสลามสาขาต่าง ๆ ได้รับกำลังใจและเริ่มงานกันอย่างจริงจัง

ภารกิจที่ยิ่งใหญ่นี้ถูกจุดขึ้นในสมัยของอุมัร อิบนฺ อับดุล อะซีซ และดำเนินมาอย่างยาวนาวในประวัติศาสตร์อิสลามก่อเกิดขบวนการสายลมแห่งศรัทธา
อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺถอดแบบมาจากเคาะลีฟะฮฺอุมัร อิบนฺ อัล-ค็อฏฏอบอย่างแท้จริง ท่านสอดส่องประชาชนที่ทุกข์ยาก ช่วยเหลือพวกเขา วิถีปฏิบัติของเขาได้รับความชื่นชอบจากประชาคนทั่วทั้งอาณาจักร ทั้งคนมุสลิมและมิใช่มุสลิม จนเขาถูกขนานนามว่าเป็น อัล-เคาะลีฟะฮ อัล-รอชิดูนคนที่ 5

สิ่งที่นักปราชญ์ตลอดประวัติศาสตร์อิสลามพากัน ยกย่องท่านนั้นอยู่ในสิ่งที่มากกว่าความดีเลิศในการดำรงตำแหน่งที่สูงที่สุด ในโลกอิสลามอย่างเคาะลีฟะฮฺ แต่มันอยู่ในสิ่งที่สิ่งที่เขาได้ปล่อยมันไปสู่ประวัติศาสตร์ ข้ามห้วงเวลาต่าง ๆ มานับหลายศตวรรษและไม่มีทีท่าว่าจะยุติลง ท่านซัยยิด อบุล อะอฺลา อัล-เมาดูดียฺ ได้วิเคราะห์ว่า

“...ภายใต้อิทธิพลของการ ตื่นตัวอิสลามและขบวนการทางปัญญา(ของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ)นี้เองได้ปรากฏงานที่ทรงคุณค่าจำนวนมาก ศาสตร์ต่างๆที่ว่าด้วยอัล-กุรอานและอัล-หะดีษก็ได้ถูกจัดทำขึ้นมา

มี การดำเนินการทางด้านอิจญติฮาด(คือการวินิจฉัยตามกระบวนการความรู้อิสลาม เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ)และงานเก็บรวบรวมวิชาการต่างๆ มีการใช้รากฐานของอิสลาม(คือแหล่งคำสอนอิสลาม ได้แก่อัล-กุรอานและอัล-สุนนะฮฺ)ในการให้รายละเอียดต่างๆของกฎหมายอิสลาม รวมไปถึงกฎเกณฑ์ทั้งหมดที่จำเป็นต่อการสร้างระบอบสังคมที่กว้างขวางก็ถูก กำหนดออกมาจากระบอบอิสลามดังกล่าวอย่างพรั่งพร้อม

งานเหล่านี้เริ่ม ต้นในฮิจญเราะฮฺศตวรรษที่ 2 และดำเนินต่อไปอย่างกระตือรือร้นจนถึงฮิจญเราะศตวรรษที่ 4 (ประมาณช่วงปีฮ.ศ 100- ฮ.ศ 300)…”

การเกิดมวลชนในการพิทักษ์และตรวจ สอบหะดีษ การกำเนิดสำนักนิติศาสตร์ที่มาตรฐานหลายสำนัก ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่ปรากฏอย่างชัดเจนจากการกระตุ้นของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ

กล่าวกันว่า หากการรวบรวมอัล-กุรอานเป็นเล่มของท่านอบูบักร ได้ก่อให้เกิดการแพร่หลายรูปเล่มคัมภีร์ไปสู่ปัจเจกชนมุสลิมทุกคนแล้ว ขบวนการทางปัญญาที่ถูกเร่งเร้าโดยอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ก็ได้ก่อให้เกิดการบูรณาการทางความรู้ไปสู่ศาสตร์แขนงต่าง ๆ ตามมาอย่างแพร่หลาย รูปแบบที่ถูกเรียกว่า “การเหวี่ยงอิสลามเข้าสู่สายลม” ของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซไม่เพียงจำกัดอยู่เพียงในสนามความรู้ของนักวิชาการเท่านั้น แต่ท่านยังได้ทำให้สายลมนี้เคลื่อนไปสู่ “คนมิใช่มุสลิม” อย่างกว้างไกลที่สุด หลังจากการจากไปของท่านนบีมุฮัมมัดไม่ถึงหนึ่งศตวรรษ อำนาจของรัฐอิสลามได้ครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มิอาจมีอาณาจักรใดเทียบเคียงได้ ทำให้ชนชาติต่าง ๆ ที่มิใช่มุสลิมเข้ามาอยู่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่นี้ และคนมิใช่มุสลิมเหล่านี้ส่วนใหญ่มิใช่ชาวอาหรับ อาทิเช่น ชาวเบอร์เบอร์ ซึ่งเป็นชนชาติใหญ่ที่อาศัยในพื้นที่กว้างขวางในแอฟริกาเหนือ และชนชาติในสาขาต่าง ๆ ของเผ่าเตอร์กในดินแดนใหญ่โตของเอเชียกลาง ตลอดจนถึงบางส่วนของอินเดียและอาณาจักรเปอร์เซียเดิม

คนไม่ใช่มุสลิม เหล่านี้ยังไม่ได้รับอิสลามในช่วงแรก ๆ เหตุหลักก็คือการที่คำสอนอิสลามที่แสดงถึงความเป็นสัจธรรมไม่ได้เข้าถึงพวก เขา แน่นอนว่าอิสลามปฏิเสธการใช้ดาบฝืนใจคนนอกความเชื่อให้มารับอิสลาม ทำให้พวกเขายังคงรักษาศาสนาเดิมไว้ ยิ่งกว่านั้นระบอบการปกครองที่อยุติธรรมของผู้นำมุสลิมบางสมัยได้เป็น อุปสรรคอย่างยิ่งในการดึงดูดใจผู้คนมาสู่อิสลาม อย่าว่าแต่คนไม่ใช่มุสลิมเลย แม้แต่มุสลิมโดยทั่วไปก็ลำบากใจในการดำรงอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้

การปกครองที่ยุติธรรมของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ได้สร้างปรากฏการณ์การเข้ารับอิสลามด้วยการไหลบ่าสู่อิสลามของชนชาติต่างๆ เหล่านี้ จนถึงทุกวันนี้ดินแดนเหล่านี้ทั้งหมดยังคงเป็นศูนย์กลางการรวมตัวของมุสลิม ที่สำคัญที่สุดอยู่

รูปแบบการทำให้คนมหาศาลเข้าสู่อิสลามของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ นั้นไม่มีการบังคับฝืนใจ แต่ทำให้หัวใจของคนเหล่านั้นโน้มมาสู่อิสลามเอง รูปแบบที่อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ใช้เป็นสิ่งที่เรียกในภาษาสมัยใหม่ว่า “Islamization” หรือการทำให้เป็นอิสลาม นั่นคือการทำให้อิสลามไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎีและสามารถแปรมาสู่การปฏิบัติได้ ความยุติธรรมอิสลามเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ ความเมตตาของอิสลามเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ และยิ่งกว่านั้น “ความเป็นสัจธรรม” ของอิสลามก็เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ จนทำให้ผู้คนที่มิใช่มุสลิมมองเห็นอิสลามในฐานะสัจธรรมอย่างประจักษ์แจ้ง

เหตุการณ์ ในสมัยอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ยุคสมัยแห่งการขยายดินแดนอิสลามนั้น ผู้คนไม่ได้เข้ารับอิสลาม เนื่องจากใช้คมดาบ แต่ผ่านนโยบายและแผนงานที่ยุติธรรมของท่านต่างหาก ยิ่งในสมัยหลังจากนี้ อิสลามมีการขยายดินแดนน้อยมาก การส่งผ่านอิสลามไปยังชนชาติอื่น ๆ ที่ห่างไกลออกไป เช่น ผู้คนในหมู่เกาะมาเลย์ นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับกองทัพมุสลิมเลย แต่กระทำผ่านแบบอย่างที่ดีงามและยุติธรรมของเหล่าพ่อค้ามุสลิมเป็นประการ สำคัญ

อุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ได้รับการมองจากนักประวัติศาสตร์ว่าเป็น เคาะลีฟะฮฺ นักดะอฺวะฮฺที่ชาญฉลาด ไม่เพียงทำให้งานดะอฺวะฮฺประสบผลในสมัยของท่านเท่านั้น แต่ยังได้แสดงให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปประจักษ์ชัดอีกว่า การก้าวไปของอิสลามสู่คนมิใช่มุสลิมนั้น มีปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การทำให้อิสลามมีชีวิต จนกระทั่งพวกเขาประจักษ์ถึงความยุติธรรม ความเมตตาธรรม และความเป็นสัจจะได้ในที่สุด

การจากไปของอุมัรที่ 2
เคาะ ลีฟะฮฺอุมัร อิบนฺ อับดุล อะซีซ เสียชีวิตโดยเขาถูกวางยาพิษโดยพวกเจ้าของที่ดินและเสนาบดีที่มั่งคั่งบางคน ที่ไม่พอใจการปกครองของท่าน ก่อนจะเสียชีวิตท่านไม่ได้แสดงความต้องการที่จะแก้แค้นคนที่คิดร้ายแต่ ประการใดเขาได้ให้อภัยและปล่อยให้คนทำผิดเป็นอิสระ(รายงานเรื่องนี้มีข้อมูล ที่แตก ต่างกันออกไป)

ยุคการปกครองของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ นั้นสั้น เพียง 2 ปี 5 เดือน แต่กระนั้นช่วงเวลาที่สั้นหรือยาวของการดำรงอยู่ในตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่นั้น ไม่ใช่ตัวกำหนดอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ และมิได้อยู่ที่การมีชีวิตอยู่อย่างยาวนานบนโลกนี้ ว่าไปแล้วบุรุษผู้นี้อายุสั้นมาก ขณะที่เสียชีวิตมีอายุแค่ 39 ปี หากนับตามปีสุริยคติก็ประมาณ 37 ปีเท่านั้นเอง

แต่ความตายไม่ใช่สิ่งที่สามารถหยุดภารกิจของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ อิทธิพลของท่านยังไม่เคยสิ้นสุด ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

ความสำเร็จที่ส่งผลกระทบยาวนานของอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ นั้นประกอบขึ้นจากความเข้าใจที่ลึกซึ้งในคำสอนอิสลามของท่าน และการที่ท่านได้รับการฝึกอบรมให้เป็นคนที่เปี่ยมด้วยจิตใจที่งดงาม เอื้ออาทรต่อผู้คน มีมารยาทที่ยอดเยี่ยม ประกอบทั้งความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารงาน และการเป็นนักยุทธศาสตร์ที่มองเห็นอนาคตของผลประโยชน์อิสลาม ท่านซัยยิด อบุล อะอฺลา อัล-เมาดูดียฺ กล่าวว่า

“แม้ว่าหลังจากการเสียชีวิตของ ท่านเคาะลีฟะฮฺ อุมัรที่ 2 อำนาจของรัฐบาลก็กลับไปอยู่ในมือของผู้ที่ขาดความยำเกรงพระเจ้าอีกครั้ง แต่ในแง่การเมืองแล้ว ภารกิจที่ดีงามทั้งหลายที่ริเริ่มโดยท่านนั้นได้ถูกเหวี่ยงเข้าไปสู่กระแสลม ไปแล้ว ดังนั้น จึงหามีใครสามารถหยุดการตื่นตัวอิสลามและขบวนการทางปัญญาได้ไม่

การ เคลื่อนไหวที่ถูกกระตุ้นจากตัวท่านจึงได้ก่อดอกออกผลขึ้นมา ทั้งราชวงศ์อุมะวียะฮฺและราชวงศ์อับบาสียะฮฺได้ใช้อำนาจและความมั่งคั่งเข้าไปมีส่วน(แทรกแซง)เส้นทางของขบวนการนี้ แต่ก็ไม่อาจสกัดกั้นความก้าวหน้าของมันได้ ...”

หากว่าท่านอบู บักร คือผู้เหวี่ยงอิสลามลงสู่หน้าประวัติศาสตร์ ดังนั้น ท่านอุมัร อิบนุ อับดุล อะซีซ ก็คือผู้ตามมาโปรยความเป็นสัจธรรมและความงามของอิสลามเข้าสู่สายลม นี่คือสายโซ่แห่งการขับเคลื่อนอิสลาม จากข้อต่อหนึ่งไปยังข้อต่อหนึ่ง ...

เมื่อภารกิจการเหวี่ยงอิสลามเข้าสู่สายลมได้เริ่มขึ้นแล้ว เมื่อสายลมไปถึงที่ไหน อิสลามก็ถูกโปรยลงสู่ผู้คนที่นั้น ..