9 มิถุนายน 2555

เปิดโลกการศึกษามุสลิม : ตอน : คณะศึกษาศาสตร์



เปิดโลกการศึกษามุสลิม : ตอน : คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาศาสนศาสตร์ ม.อัลอัซฮัร สำหรับผู้หญิง

            วันนี้ "มาลาตี การีฟี" จากจังหวัดนนทบุรี สาวมั่นผู้ชอบทำกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นลูกคนโตใน 4 คน ของอับดุลอาซิซ (สมศักดิ์) และลาตีฟะ (สำราญ) การีฟี  มีอาชีพปศุสัตว์ แม่ตัดชุดเจ้าสาว มาให้ความรู้คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาศาสนศาสตร์" สำหรับผู้หญิง




            "มาลาตี" จบการศึกษาศาสนาและภาษาหรับโรงเรียนนูรู้อิสลาม (สุเหร่าเขียว) จบ ม.6 จาก กศน. เดินทางมาอียิปต์เมื่อเดือนตุลาคม 2008 สมัครเทียบวุฒิเสร็จเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เรียนภาษาเพิ่มเติม ก่อนเปิดเรียนหนึ่งเดือน ที่วิทยาลัยบูอูศ ปัจจุบัน อยู่อียิปต์มา 4 ปีกว่าแล้ว และกำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาศาสนศาสตร์ เอกอรรถาธิบาย พระคัมภีร์ (กุรอ่าน)

            คณะนี้ ปี 1 มีทั้งหมด 16 วิชาประกอบด้วย 1.วิชาไวยกรณ์ภาษาอาหรับ 2.วิชาตรรกศาสตร์ 3.วิชาระบบการปกครองของอิสลาม 4.วิชาประวัติศาสตร์วจนะ (ตารี้ค ซุนนะห์) 5.วิชานิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกห์) 6.วิชาหลักพิจารณาอัลอุ 7.วิชาศาสนาเปรียบเทียบ 8.วิชา (ให้เลือก) ระหว่างภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส 9.วิชาหลักพิจารณาอัลฮ่าดีษ 10.วิชาอัลฮ่าดีษ (วจนะศาสดา) 11.วิชาสุทรียศาสตร์ (เตาฮีด) + สอบสัมภาษณ์ 12.ชากุรอ่าน + สอบสัมภาษณ์การท่องจำกรุอาน ยุซที่ 1 13.วิชาอรรถธิบายพระคัมภีร์ (อัลกุรอ่าน) 14. วิชา (ต้าเซาวุฟ) 15.วิชา (ก้อซอซ กุรอ่าน) (เล่าถึงเหตุการณ์ สาเหตุการลงกรุอ่าน) 16 วิชารากฐานการเผยแผ่ (อุซูลุดดะวะห์)

             ปี 2 มีทั้งหมด 17 วิชา ดังนี้ 1.วิชาตรรกศาสตร์ 2.วิชาหลักพิจารณาอัลกุรอ่าน 3.วิชาปรัชญา 4.วิชานิติศาสตร์อิสลาม 5.วิชา (อัล ค่อตอบะห์) วาทะศาสตร์ 6.วิชา (ชุบ ฮาตอัลฮะดีษ) การสร้างความคลุมเครือในฮะดีษ 7.วิชากุรอ่าน + สอบสัม ภาษณ์ ท่องจำ ยุซ 1-2 8.วิชาอรรถธิบาย อัลกุรอ่าน + สอบสัมภาษณ์ 9. วิชาวรรณกรรมอาหรับ 10. วิชาภาษาต่างปะเทศ ให้เลือกระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส 11.วิชาชุบฮ๊าตอัลกุรอ่าน (การสร้างความคลุมเครือในกุรอ่าน) 12.วิชาแนวกระแสความคิคร่วมสมัย 13.วิชาสุนทรียศาสตร์ (เตาฮีด) 14.วิชาหลักพิจารณาอัลฮ่าดีษ 15.วิชาอัลฮ่าดีษ 16.วิชาอัคล๊าค (จรรยา มารยาท) 17. วิชาระบบการปกครองของอิสลาม

            ปี 3 คณะศึกษาศาสตร์อิสลามและภาษาอาหรับ ภาควิชาศาสนศาสตร์ เอกอรรถธิบายอัลกุรอ่าน มี 14 วิชา 1.วิชาประวัติศาสตร์ศาสดา 2.วิชาสุนทรียศาสตร์ (เตาฮีด) 3.วิชาว่าซาเอ้ล ตับลีฆ (หลักสูตรการเผยแผ่) 4.วิชาด้าคี้ล (การแทรกแทรงความคิด) 5.วิชาก้อดอยา (ประเด็นปัญหาสมัยใหม่) 6.วิชาอัลกุรอ่าน + สอบสัมภาษณ์ ท่องจำ ยุช 1, 2, 3 7.วิชาอรรถธิบายอัลกุอ่าน + สอบสัมภาษณ์ 8.วิชาวาทะศาสตร์ (อัล ค่อตอบะห์) 9.วิชาอรรถธิบายกุรอ่านเชิงวิเคราะห์ 10.อรรถธิบายอัลกุรอ่าน (ตามตัวบท) 11.วิชาต้าเซาวุฟ (จริยธรรมอิสลาม) 12.วิชามนาเฮจมุฟัซซีรีน (หลักสูตรของนักอรรถาธิบาย)13.วิชาอัลฮาดีษ 14.วิชาตัจวีด (ศิลปะการอ่าน) ภาควิชาศาสนศาสตร์เท่านั้น ที่ปี 3 ให้นักศึกษาสามารถเลือกเอกได้ตามที่นักศึกษาถนัดและสนใจเป็นการเจาะลึกมากยิ่งขึ้น

            ปี 4 เอกอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน มี 15 วิชา 1.วิชาสุทรียศาสตร์ 2.วิชาวจนะศาสดา (ตัวบท) 3.วิชาการเผยแผ่ของศาสดา 4.วิชาแทรกแซงความคิด (ด่าคิ้ล) 5.วิชาการสร้างความกคลุมเครือในอ่านกุรอ่าน (มูตาชาบิห์ กุรอ่าน 6.วิชาอัลกุรอ่าน + สอบสัมภาษณ์ ท่องยุซ 1, 2, 3, 4  7.วิชาอรรถธิบายอัลกุรอ่านเชิงวิเคราะห์ 8.วิชาอรรถธิบายกุรอ่าน (ตัวบท) 9.วิชาศาสนาเปรียบเทียบ 10.วิชาหลักการพิจารณาอัลกุรอ่าน 11.วิชาแนวทางของนักอรรถธิบาย 12.วิชาบูรพาคดี 13.วิชารากฐานนิติศาสตร์อิสลาม (อูซูลลุลฟิกฮ์) 14.วิชาตัครีจ อัลฮาดิษ 15.วิชาเอี๊ยะยาซอัลกุรอ่าน (พูดถึงความวิจิตรของอัลกุรอ่าน)

            ชีวิตในหอพักนานาชาติ ของ "มาลาตี" มีอาหารครบ 3 มื้อ ตอนเช้าอาหารอาหรับคือถั่ว นม ขนมปัง ชีส ไข่คนละ 2 ฟอง อาหารเย็นบางวันมีเนื้อ บางวันมีไก่ วันศุกร์เท่านั้นที่เป็นทูน่าและแจกพร้อมกับผัก แกงแบบอาหรับ ผลไม้และไข่คนละ 2 ฟอง ส่วนใหญ่นักศึกษาผู้หญิงจะหุงข้าวและทำอาหารไทยทำกันเองแบบง่ายๆ เดินทางไปเรียนทั้งรถเมล์ รถตู้ รถไฟใต้ดิน การเรียนการสอนก็ใช้ภาษาอาหรับพื้นเมือง เรื่องภาษาหากให้ได้เร็วต้องคบเพื่อนต่างภาษาให้มากที่สุด

            ปัจจุบัน "มาลาตี" เป็นเลขานายกสมาคมฯ เป็นการเปิดโลกสู่สังคมที่กว้างขึ้น กิจกรรมและงานของสมาคมฯ จะเกี่ยวข้องกับสถานทูตฯ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งสอนให้มีความรอบคอบ รู้จักการทำงานที่เป็นระบบ ม.อัลอัซฮัร วิชาของภาคศาสนศาสตร์ ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ พร้อมๆ กับความรู้เรื่องศาสนาและยิ่งเพิ่มศรัทธาให้เต็มเปี่ยม

..........................
(เปิดโลกการศึกษามุสลิม : ตอน : คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาศาสนศาสตร์ ม.อัลอัซฮัร สำหรับผู้หญิง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น