30 มิถุนายน 2555

มารู้จักภรรยา ผู้นำอียิปต์คนแรกที่คลุมฮิญาบ และขอไม่เป็น “สตรีหมายเลข 1”

สำนักข่าวอัลอาราบิญา - นัคลาอฺ มะฮฺมู้ด ภรรยาของประธานาธิบดีอียิปต์คนใหม่จากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม มุฮ้มมัด มุรฺซี ที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมา ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง “สตรีหมายเลข 1” ของอียิปต์ โดยเธอกล่าวว่า เธออยากมีฐานะเป็น “ผู้รับใช้หมายเลข 1 ของประเทศอียิปต์” มากกว่า และทุกคนสามารถเรียกเธออย่างง่ายๆ ว่า “Um Ahmedd หรือ แม่ของอะฮฺมัด” หรือแค่เพียง “ฮัจญะฮฺ” ก็ได้

                                    นัคลาอฺ มะฮฺมู้ด ภรรยาของประธานาธิบดีอียิปต์คนใหม่

นัคลาอฺ มะฮฺมู้ด กล่าวในเว็ปไซต์ อิควาน ออนไลน์ ของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมว่า อิสลามไม่ได้กำหนดฐานันดร หรือสถานะทางสังคมให้แตกต่างระหว่างผู้หญิงด้วยกัน เราทุกคนเป็นชาวอียิปต์ และต้องสามัคคีกันเพื่อประเทศชาติ

ยังไม่ทันที่สามีของเธอจะได้บริหารงานอย่างเต็มที่ ก็มีเสียงโต้แย้งกันแล้วเกี่ยวกับการแต่งกายของเธอ เนื่องจากเธอจะเป็นภรรยาประธานาธิบดีอียิปต์คนแรกที่คลุมฮิญาบ

ที่ผ่านมาภรรยาผู้นำอียิปต์ทุกคน นับตั้งแต่ราชินีนาริมาน มเหสีของกษัตริย์ฟารุค ที่ถุกขับออกจากตำแหน่งในการปฏิวัติปี พ.ศ. 2495 จนถึงนางทาเฮีย กอเซ็ม ภรรยาของอดีตประธานาธิบดีกามาล อับเดล นัสเซอร์, นางญิฮาน ราอุฟ ภรรยาอดีตประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต ที่ถูกลอบสังหาร และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด คือ นางซูซานน์ ฏอเบ็ต ภรรยาของอดีตประธานาธิบดี ฮุสนี มุบารัก ที่เพิ่งถูกขับออกจากอำนาจเมื่อเร็วๆนี้ ล้วนแต่นิยมแต่งกายตามแบบตะวันตก และไม่คลุมฮิญาบเป็นประจำ

ที่ผ่านมาภรรยาผู้นำอียิปต์บาง คนก็มีบทบาทในสังคม เคียงข้างสามี แต่บางคนก็เก็บตัว ไม่พยายามออกงานสังคม สำหรับนัคลาอฺ มะฮฺมู้ด ภรรยาประธานาธิบดีอียิปต์ คนใหม่นี้ สื่อกล่าวว่า ยังไม่อาจเดาได้ว่าเธอจะออกงานสังคม และเดินทางติดตามสามีไปยังประเทศต่างๆ หรือไม่ เนื่องจากข้อมูลของเธอปรากฏต่อสังคมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในขณะนี้

29 มิถุนายน 2555

'เปิดโลกมุสลิม'ตอน'นิติศาสตร์อิสลาม'





คอลัมน์ เปิดโลกการศึกษามุสลิม : เจาะคณะดัง 'นิติศาสตร์อิสลาม' ม.อัลอัซฮัร : โดย ... dolman_cario@hotmail.com 

วันนี้ เปิดโลกการศึกษามุสลิม เขียน ถึงคณะนิติศาสตร์อิสลาม หนึ่งคณะที่นับได้ว่าเป็นคณะที่นักศึกษาทั่วโลกให้การศึกษากันมากที่สุด ตัวแทนที่แบ่งปันประสบการณ์ตั้งใจศึกษาและหาเลี้ยงส่งตัวเองเรียนด้วยฝีมือ การทำอาหารอันลือชื่อ ทุกกิจกรรมของชมรมฯ สมาคมฯ สถานทูตฯ จะมีน้องอิลยาซ เข้าร่วมงานเสมอไม่ได้ขาด แม้จะมีปัญหาครอบครัว เรื่องส่วนตัว แต่สามารถผ่านวิกฤติมาด้วยความอดทนจนสามารถก้าวขึ้นมาปี 4 ของมหาวิทยาลัยโลกได้อย่างน่าทึ่ง  ประวิทย์  อาเก็บ หรือ “อิลยาซ” ในครอบครัว ประสิทย์-ทรงศิริ อาชีพขายของจากปทุมธานี เป็นคนโตในพี่น้อง  5 คน จบการศึกษามัธยมปลายศาสนาที่โรงเรียนมิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะห์บ้านดอน กรุงเทพฯ ขึ้นมาเรียนอียิปต์เมื่อปี 2005 เข้าเรียนคณะ “นิติศาสตร์อิสลาม” โดยความตั้งใจตั้งแต่อยู่เมืองไทยแล้ว

     “อิลยาซ” เล่าว่า ที่เลือกเรียนคณะนี้เพราะในสังคมไทยมีหลายศาสนา เพราะฉะนั้นในการหลักการปฏิบัติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และบอก เล่ากับพี่น้องในศาสนาเดียวกันและต่างศาสนิกเพื่อที่จะได้เข้าใจตรงกันและ อยู่กันในสังคมได้อย่างมีความสุข โดย ปี1/  1.อัลกุรอาน 2.ประวัติศาสตร์การออกกฎหมายอิสลาม 3.วิชาวจนะและความรู้เกี่ยวกับวจนะศาสดา 4.ไวยากรณ์อาหรับ 5.อังกฤษ 6.อรรถธิบายอัลกุรอาน 7.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย (ฟิกมูกอเร็น) 8.อิสลามนิกายอีหม่ามชาฟีอีย์ 9.วิชาพื้นฐานอิสลาม(อูซูลฟิก) 10.วิชาการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย (กอฎอยา) 11.วิชาวิจัยพื้นฐานอิสลาม (บะฮัสอูซูลฟิก)จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาอาหรับ หลักปฏิบัติพื้นฐานในศาสนาว่าด้วยเรื่องส่วนรายบุคคลต่อพระเจ้า วิชาศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ในยุคปัจจุบันเช่น การผสมเทียม โคลนนิ่ง ธนาคารนม การอุ้มบุญ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ตามหลักการอิสลามมีข้อปฏิบัติอย่างไร
          ปี2 / 1.อรรถธิบายอัลกุรอาน 2.ไวยากรณ์อาหรับและการผันอักษร 3.วิชาการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย (กอฎอยา) 4.อังกฤษ 5.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย (ฟิกมูกอเร็น) 6.อิสลามนิกายอีหม่ามชาฟีอีย์  7.วิชาพื้นฐานอิสลาม(อูซูลฟิก) 8.วจนะศาสดาและกฎหมาย (อัลฮาดิษ วัลอะห์กาม) 9.การแต่งงานและการแบ่งมรดก (อะวัล ชักซียะห์) 10.การทำวิจัย 11. อัลกุรอาน ก็จะเน้นเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว และการซื้อขายตามหลักการของอิสลาม ความชัดเจนและรายละเอียดในเรื่องการทำธุรกรรมต่างๆ พร้อมตัวบทและการอรรถาธิบายกุรอ่านในด้านหลักการปฏิบัตอย่างชัดเจน
          ปี3/ 1.อรรถธิบายอัลกุรอาน 2.วิชาวรรณคดีและวิชาวาทศาสตร์ 3.วิชาการเผยแผ่อิสลาม 4.การแบ่งมรดก 5.อัลกุรอาน 6.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย (ฟิกมูกอเร็น)  7.อิสลามนิกายอีหม่ามชาฟีอีย์  8.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย 9.วิชาการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย 10.วิชาพื้นฐานอิสลาม (อูซูลฟิก) 11.วจนะศาสดา 12.วิจัยอิสลาม 13. อังกฤษ  เจาะลึกในเรื่องครอบครัว การสมรส  เรื่องการค่าใช้จ่าย ค่าเลี้ยงดู และสิทธิของการอยู่อาศัยร่วมกัน ผลเสีย และผลกระทบต่อสังคมในเรื่องครอบครัว เรื่องการหย่า การฟ้องร้องเรื่องหย่า  เรื่องการเงิน การธนาคาร
          ปี4 /1.อรรถธิบายอัลกุรอาน 2.วิชาวรรณคดีและวิชาวาทศาสตร์ 3.อังกฤษ 4.กฎพื้นฐานการทำวิจัย (วิทยานิพนย์) 5.วิชากฎพื้นฐานนิติศาสตร์อิสลาม 6.ปัญหาศาสนาร่วมสมัย (ฟิกมูกอเร็น) 7. อิสลามนิกายอีหม่ามชาฟีอีย์ 8. อัลกุรอาน 9.วจนะศาสดาและกฎหมาย (อัลฮาดิษ วัลอะห์กาม) 10.วิชาพื้นฐานอิสลาม (อูซูลฟิก) 11.วิชาการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย (กอฎอยา) 12.วิจัยการตัดสินความเรื่องปัญหาร่วมสมัย ส่วนใหญ่จะเป็นหลักการลงโทษในความผิดต่างๆ การชดเชยค่าเสียหายต่างๆ ความชัดเจนของศาสนาในด้านคดีความต่างๆในแบบของอิสลามและการประยุกต์ใช้ใน ปัจจุบัน  เรื่องการตัดสินคดีความในสมัยของศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล.) หลักการตัดสินความ การสืบพยานต่างๆ    เรื่องมารยาท การอยู่ในสังคม มารยาท ต่อครอบครัว มารยาทส่วนตัวบุคล  เรียนรู้โคลงกลอนอาหรับ ความลึกซึ้งของภาษาและการใช้สำนวน นี่คือประการหลักๆ ของคณะนี้
          อิลยาส เป็นนักเรียนทุนโดยสอบชิงทุนของมหาลัยอัซฮัร พักอยู่ในหอพักนานาชาติ มีอาหารเลี้ยง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ได้รับการลดในส่วนของค่าเทอมและการดูแลรักษาความปลอดภัย และการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน พอเรียนปี 4 ได้ออกมาอยู่หอนอก โดยอาศัยเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนอีก 3 คน ที่เป็นคนไทยด้วยกันในเขตที่เรียกว่า กิสมุฮาดาอิ้ก ค่าใช้จ่ายถือว่าไม่สูงนัก อาหารส่วนใหญ่ทำเองจากส่วนผสมที่พอหาซื้อได้ทั่วไป ค่าใช้จ่ายหนึ่งเดือนราวๆ 5,000 บาท ทำงานพิเศษช่วยงานการจัดเลี้ยงที่สถานทูตบ้างในบางโอกาสเช่นงานวันแม่ งานวันชาติบ้าง หรือรับทำอาหารส่งทั่วไป อย่างน้อยก็จะได้มีเงินไว้เป็นค่าอาหารเลี้ยงตัวเองไปด้วย
          การมาศึกษาในประเทศอียิปต์เสมือนหนึ่งการเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตจริงไปด้วย เพราะที่แห่งนี้ไม่ได้แค่เรียนรู้เชิงวิชาการศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเรียนรู้ในการอยู่กับสังคม การเอาตัวรอดจากอุปสรรค การรู้จักตัวเองในด้านความสามารถและการเลี้ยงตัวเองให้อยู่ได้ในสังคมอีก ด้วย โชคดีที่ในประเทศอียิปต์ มีชมรมของนักศึกษาหลากหลาย  มีสมาคมนักเรียนไทยฯ มีสถานทูตฯ ไว้คอยให้การช่วยเหลือนักศึกษาไทยเป็นอย่างดี มีความเป็นกันเองเข้าถึงกันทุกฝ่าย การเป็นอยู่ของสังคมนักศึกษาที่นี่ มีการช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ดีมาก

----------
(หมายเหตุ : เปิดโลกการศึกษามุสลิม : เจาะคณะดัง 'นิติศาสตร์อิสลาม' ม.อัลอัซฮัร : โดย ... dolman_cario@hotmail.com)

 http://www.komchadluek.net/detail/20120607/132535/%27%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%27%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%27%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%27.html

ประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ

24 มิ.ย 2555 ประธานกกต.นายฟารูก ซุลตอน ประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการวันนี้โดยดร.มูฮัมหมัด มูรซี ชนะด้วยคะแนน 13,230,181 ทิ้งห่างนายอะหมัด ซาฟิกที่ได้คะแนน 12,347,380 คะแนน จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีจำนวน 50,958,794 คน มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ 26,420,763 คน ,บัตรเสีย 843,252 ใบ
 นายอะหมัด ซาฟิก

นายมูฮัมหมัด มูรซี
พร้อมกันนี้ประธานกกต.ได้ประกาศว่านายมูฮัมหมัด มุรซี  คือประธานาธิบดีคนใหม่ สร้างความไม่พอใจแก่นักข่าวสายอดีตผู้นำคนก่อน แต่ก็ถูกประธานการแถลงข่าวสั่งให้สงบอารมณ์ สถานการณ์ในหอประชุมจึงเข้าภาวะปกติ
     การประกาศผลในวันนี้สร้างความปิติยินดีอย่างยิ่งสำหรับชามอียิปต์ โดยเฉพาะเหล่าผู้ชุมนุมที่ยังปักหลัก ณ จตุรัสตะห์รีร  

24 มิถุนายน 2555

ที่ปรึกษาOICพบนักเรียนไทยในอียิปต์

โดย ดลหมาน ผ่องมะหึง รายงานจากกรุงไคโร ประเทศอียิปต์



 สำนักข่าวอะลามี่ : นับเป็นอีกวาระที่ผมได้รับแจ้ง จากท่านเอกอัครราชฑูตไทย  ประจำกรุงไคโร เพื่อพบปะกับผู้หลักผู้ใหญ่ หารือเรื่องความสัมพันธ์ และวาระสำคัญอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องมุสลิมในประเทศไทย ซึ่งในโอกาสนี้ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาไทย ได้เข้าพบร่วมโต๊ะนั่งคุยกับท่านเอกอัครราชทูตฯ ด้วยความเป็นกันเอง

          เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา นายชลิต มานิตยกุล เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร ได้เปิดประตู ณ ทำเนียบให้การต้อนรับ นายซาอิด  เอลมาซรี ที่ปรึกษาพิเศษเลขาธิการองค์กรความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation – OIC)  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเนื่องจากการเยือนประเทศไทยของคณะผู้แทน OIC ระหว่าง 9 – 17 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา

 โดยช่วงเช้า นายเอลมาซรี ได้แจ้งกับ นายชลิต มานิตยกุล เอกอัครราชทูต พร้อมด้วยข้าราชการไทย ณ กรุงไคโร ว่า ตนมีความพอใจกับการต้อนรับและการจัดกำหนดการต่างๆ ระหว่างการเยือนที่ฝ่ายไทยจัดให้แก่คณะผู้แทน OIC และ ชื่นชมความโปร่งใสในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลไทย ตลอดจนความพร้อมของฝ่ายไทย ที่จะร่วมทำงานกับ OIC ต่อไป  

ขณะที่เอกอัครราชทูตชลิตฯ รับที่จะช่วยประสานการติดต่อระหว่างรัฐบาลไทยและ OIC และ ยืนยันความพร้อมที่จะให้ข้อมูลและความกระจ่างในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินการของฝ่ายไทย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แก่ OIC ผ่านทางนายเอล มาซรี่
             ภายหลังการหารือกับเอกอัครราชทูตฯ  นายเอลมาซรี ก็ได้พบปะพูดคุยกับ นายศักดิ์ดา โซ๊ะเฮง   นายกสมาคมนักเรียนไทย พร้อมคณะกรรมการบริหารสมาคม และตัวแทนของชมรมต่างๆ จำนวน 20 คน  ซึ่งการพูดคุยเจรจาแบบเป็นกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรึกษาพิเศษประจำOIC สนใจ ในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของนักศึกษาไทยในอียิปต์ และเส้นทางการประกอบอาชีพภายหลังจบการศึกษา ตลอดจนบทบาทของนักศึกษาไทย ในฐานะเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติต่อการพัฒนาท้องถิ่นและการศึกษา

นับเป็นความภูมิใจและตื้นตันทุกครั้ง ที่ได้มีส่วนร่วมในการพบปะแบบนี้ และ มีหน่วยงานของนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการประชุม นับได้ว่าการเปิดโอกาสของสถานทูตฯและนักศึกษาไทยในอียิปต์ยังคงดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี
          เพราะนอกเหนือสิงอื่นใดแล้ว อย่างน้อยที่สุด ผู้นำในระดับต่างประเทศ ก็รู้ถึงความสามารถของการใช้ภาษาในการสื่อสาร และการเป็นหนึ่งเดียวของนักศึกษา และข้าราชการไทยในประเทศอียิปต์อีกด้วย


http://www.thealami.com/main/content.php?page=news&category=13&id=774


ฟาโรห์ 2012 ตัวจริงหรือแค่หุ่นเชิด


ฟาโรห์ 2012 ตัวจริงหรือแค่หุ่นเชิด ในอุ้งมือทหาร :เปิดโลกวันอาทิตย์ :โดย.ดลหมาน ณ ไคโร





               แทบไม่น่าเชื่อว่า ชีวิตของฮอสนี มูบารัก อดีตประธานาธิบดีผู้เคยยิ่งใหญ่ปกครองแดนสฟิงกซ์อียิปต์มาตลอด 30 ปีจะแขวนอยู่บนเส้นด้ายเพียงแค่ปีเดียวหลังจากถูกพลังประชาชนโค่นล้ม ตามด้วยการถูกศาลพิเศษตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ในข้อหาออกคำสั่งให้สังหารผู้ประท้วงระหว่างการชุมนุมใหญ่เมื่อต้นปีที่แล้ว

               เดิมทีอดีตผู้นำอย่างมูบารัก เป็นผู้มีศักยภาพในด้านการปกครอง การวางตัว และการสื่อสารกับผู้นำต่างประเทศได้อย่างสมศักดิ์ศรีของผู้นำระดับประเทศ แต่เป็นเพราะการทำงานจะต้องทำเป็นทีม ต้องมีพรรคมีพวก มีบริวาร อาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้อดีตผู้นำผู้นี้ไม่สามารถเข้าถึงชีวิตจริงของชาวรากหญ้าทั่วไปซึ่งมีหลายกลุ่ม นับเป็นจุดบอดสำคัญทำให้นายมูบารักไม่มีโอกาสรับรู้ปัญหาแท้จริงที่เกิดขึ้นเนื่องจากถูกปกปิด ถูกหมกเม็ด ไม่มีการรายงานผ่านสื่อให้ทั่วโลกได้เห็นว่าชีวิตจริงๆ ของผู้ที่ถูกกดขี่ ถูกกดดันและอยู่ใต้อำนาจมืดเป็นเช่นใด
                การบริหารภายใต้กำปั้นเหล็ก ทำให้ชาวบ้านธรรมดา คนจรหมอนหมิ่น นักศาสนา นักธุรกิจ ไม่สามารถพูดออกความเห็นอะไรได้มากนัก โดยเฉพาะเรื่องการเมืองที่ห้ามพูดถึงเป็นอันขาด เช่นเดียวกับการห้ามนำเสนอข่าวชาวอียิปต์หลายร้อยคน ที่ไว้เครายาวสวมชุดโต๊บและหมวกขาวอยู่บนศีรษะ ถูกจับขึ้นรถสีน้ำเงินซึ่งเป็นรถจับผู้ทำผิดกฎหมาย หรือเรื่องของเงินเดือนแสนน้อยนิดของครูสอนศาสนาที่ต้องกระเบียดกระเสียรไม่ต่างอะไรกับคนทั่วไป ตรงข้ามกับภาพเจ้าหน้าที่ระดับสูงใส่สูทยามออกงานสังคม ภาพของผู้นำที่ยืนยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ระหว่างร่วมงานเลี้ยง ฯลฯ
                แต่จุดที่ทำให้นายมูบารักตกม้าตาย ก็คือการพยายามผลักดันลูกชายให้เป็นทายาททางการเมือง กลายเป็นชนวนให้คนวงในเริ่มไม่ไว้ใจ กอปรกับมีการยักยอกผลประโยชน์จากการทำธุรกิจระดับประเทศ หรือการพยายามรวบอำนาจไว้ในมือถึงชั้นยกเลิกผลการเลือกตั้งหากมีพวกที่ไม่ต้องการเข้ามามีบทบาทในสภามากเกินไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าพูดอย่างเปิดเผย ทำให้นายมูบารักไม่ทราบว่าภัยได้ก่อตัวอย่างเงียบเหมือนคลื่นใต้น้ำ จนท้ายสุดประชาชนกลุ่มต่างๆ ก็ลุกฮือประท้วงจนสามารถล้มระบอบอำนาจเก่า แล้วพยายามสร้างระบอบใหม่ขึ้นมา ด้วยความหวังว่าผู้นำคนใหม่จะต้องเป็นคนใหม่ ไม่ใช่นักการเมืองหน้าเก่าที่ฉวยโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารต่อไป หลังจากมีการเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี โดยมีสภาทหารเป็นผู้รักษาการและควบคุมดูแลความมั่นคงทั้งหมด
                 ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปรากฏว่ากลุ่มมุสลิมภราดรภาพ หรืออิควานมุสลีมีน ศัตรูตัวฉกาจของขั้วการเมืองเก่าครองเสียงข้างมาก ส่วนผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกซึ่งมีผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติอย่างเข้มงวดจนมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 13 คน เพื่อคัดผู้สมัครที่มีคะแนนมากที่สุด 2 รายแรกที่จะเข้าชิงดำในรอบ 2
                 ปรากฏว่าผู้ผ่านเข้ารอบ 2 ได้แก่นายมูฮำหมัด มูรซี จากพรรคมุสลิมภราดรภาพซึ่งเป็นพรรคใหม่ และนายอะหมัด ชาฟีก ไม่สังกัดพรรค แต่เป็นคนหน้าเก่าตั้งแต่สมัยนายมูบารัก ทำให้ผู้ประท้วงที่เคยผสานใจกันประท้วงยอมสละชีวิตแลกกับศักราชใหม่ของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศได้เกิดแตกเป็นหลายฝักหลายฝ่ายอีกครั้ง
                 นายมูฮำหมัด มูรซี ที่ทั่วโลกและใครๆ ต่างหวาดกลัวว่าถ้าได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่เนื่องจากสังกัดพรรคอัลอิควานอิสลามมียะห์ หรือพรรคมุสลิมภราดรภาพ ซึ่งถูกปฏิเสธจากโลกตะวันตกโดยเฉพาะยิว โดยพรรคนี้ก่อตั้งที่จังหวัดที่อิสมาอีลียะห์ เมื่อปี 1928 โดย อัชชะฮีด อิมามหะสัน อัลบันนา บุรุษไว้เครายาว หนึ่งในผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เเละฟื้นฟูอิสลามที่โดดเด่นที่สุดในยุคนั้น ไม่ว่าเรื่องความไม่เป็นธรรม หรือเรื่องคอรัปชั่น
                 ที่สำคัญ อิควานนั้นถือได้ว่าเป็นศัตรูสำคัญที่สุดของยิว เพราะรู้แผนการของชาวยิวได้ดีทุกจุดและยังรู้จักชาวยิวดีทุกอณู ทำให้ยิวไม่สามารถเดินตามเเผนการของตัวเองได้ ด้วยความเข้มแข็งของพวกอิควานที่ต่อสู้ด้วยความไม่เห็นเเก่ตัวเเละด้วยจิตใจที่เสียสละ แต่ในสมัยของญามัล อับดุลนาซีร หรือประธานาธิบดีนัซเซอร์ ซึ่งแม้จะมาจากกลุ่มอัลอิควาน แต่เมื่อขึ้นมามีอำนาจแล้วก็สั่งจับกุมคุมขังพวกอิควานกว่า 5 หมื่นคน ด้วยเหตุผลว่าเป็นภัยต่อประเทศ
                 นับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ พรรคอิควานมุสลีมีนก็กลายเป็นโลโก้ที่น่ากลัวของคนทั่วโลก โดยเฉพาะพวกยิวหรือโลกตะวันตกที่พูดกันต่อๆ ว่า “อิสลาม” เป็นศาสนาที่น่ากลัวไปโดยปริยาย
                 จนมาถึงยุคของมูบารัก พรรคมุสลิมภราดรภาพ ก็ยังคงเป็นสิ่งต้องห้ามและอยู่ในเครือข่าย “พวกผิดกฎหมาย” หรือถูกตราหน้าว่าเป็น “พวกมุสลิมก่อการร้าย” คือพวกที่ก่อความวุ่นวาย สร้างความแตกแยก แต่แท้ที่จริงแล้ว กลุ่มนี้ไม่ได้โหดร้าย ไม่ได้สร้างความแตกแยก ไม่ได้สุดโต่งในเรื่องศาสนา และไม่ได้อยู่กับสังคมโลกไม่ได้ เหมือนอย่างที่ถูกกล่าวหา เว้นแต่การแต่งกายที่คงรูปแบบอิสลาม มีสถานะเป็นอยู่ที่ชัดเจน  มีสมาชิกเครือข่ายหลากหลาย และเข้าสู่สังคมทั่วโลกอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาโดยนำอิสลามมาประยุกต์ใช้กับสังคมสมัยใหม่และเข้าสู่สังคมโดยไม่แบ่งชนชั้นใดๆ    
   
                  ช่างน่าโชคร้ายสำหรับนายมูฮำหมัด มูรซี ที่ขึ้นมาจากพรรคที่ใครๆ ต่างมองในแง่ลบจนต้องแถลงว่าหากได้เป็นประธานาธิบดี ก็จะลาออกจากหัวหน้าพรรคมุสลิมภราดรภาพ ซึ่งยิ่งทำให้คะแนนเสียงวูบลง แต่นายมูฮำหมัด มูรซี ยังคงหวังว่าจะชนะแน่นอน
                  ด้านนายอะหมัด ชาฟิก อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ และอดีตนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายมูบารัก เป็นคู่แข่งขึ้นมาแบบ “อูฐมืด” ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนชนิดหักปากกาเซียนนักวิเคราะห์วิจารณ์ ซึ่งไม่เชื่อว่าคนเก่าในสมัยอดีตประธานาธิบดีมูบารักจะก้าวมาไกลถึงขนาดนี้ การขุดคุ้ยข่าว การประท้วงเริ่มมีขึ้นในทุกสถานที่
                  จากเดิมที่เคยร่วมกันต่อสู้เพื่อลบล้างระบบเก่าๆ และคนเก่าๆ แต่ท้ายสุดกลับกลายเป็นว่าต้องยอมรับผลการเลือกตั้งอย่างเงียบๆ หรือนี่อาจจะเป็นเกมการเมืองของนักการเมืองเก่าที่ฝังตัวเงียบรอจังหวะที่จะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง
                  ก่อนการเลือกตั้งรอบตัดสินไม่กี่วัน บรรดานายพลในสภาทหารได้ประกาศยุบสภาและควบคุมอำนาจนิติบัญญัติทั้งหมด ทำให้ชาวอียิปต์โดยเฉพาะกลุ่มนักปฏิวัติที่ผ่านมาเริ่มเอะใจคิดว่าคำสั่งนี้มีขึ้นเพื่อตัดสิทธิ์ “ประธานาธิบดี” คนต่อไป เหมือนกับบอกเป็นนัยว่าสภาทหารคงจะรู้เบาะแสเรื่องผลการนับคะแนนเป็นการภายในว่า นายมูฮำหมัด มูรซี คงชนะการเลือกตั้ง เป็นเหตุให้สภาทหารคิดจะยื้ออำนาจไว้ต่อไป ที่สำคัญจะมีอำนาจเหนือกฎหมายโดยเฉพาะการขึ้นมาของประธานาธิบดี ซึ่งคงต้องอยู่ในเงื้อมมือของอำนาจทหารอย่างแน่นอน
                  แต่ถ้านายอะหมัด ชาฟิก เกิดชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ทุกอย่างก็คงไม่มีการเปลี่ยนแปลง และนี่คือสิ่งที่พวกนักปฏิวัติทุกคนต่างลุกฮือกันขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อความกระจ่างและเพื่อทวงสัญญาที่สภาทหารเคยให้ไว้ว่า สภาทหารจะดูแลความปลอดภัยของคนในประเทศและจะคืนอำนาจหลังจากได้ประธานาธิบดีคนใหม่แล้ว แต่ทำไมต้องยุบสภาทั้งๆ ที่ไม่มีปัญหาอะไรให้น่าระแวงใจ และมีขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนหน้าที่จะรู้ผลการเลือกตั้ง
                  ทั้งหมดคือความคิดตรงกันของชาวอียิปต์ ซึ่งทุกครั้งที่เกิดปัญหาของสังคมส่วนรวม ชาวอียิปต์แม้จะต่างพรรค ต่างศาสนา ก็จะมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเรียกร้องความถูกต้อง ความเป็นธรรม และเรียกร้องสัญญา นี่คือสิ่งที่ดีของชาวอียิปต์ ลูกหลานฟาโรห์และศาสดาแห่งอียิปต์
                 ฟาโรห์ 2012 จะปกครองประเทศชาติด้วยอุดมการณ์ ด้วยความสามารถของตัวเอง และของสภาได้อย่างไร ในเมื่อทุกอย่างถูกขีดไว้ด้วยกระสุนปืน และคอยติดตามเป็นเงาติดตัวอยู่ตลอดเวลา คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ประชาชนจะยอมอยู่นิ่งเฉย เชื่อได้เลยว่าคงจะมีการประท้วงนองเลือดครั้งใหญ่อีกครั้ง หากสภาทหารยังไม่ยอมคืนอำนาจสู่สามัญชนอย่างที่เคยให้สัญญากันไว้
                 ขณะเดียวกัน หากผลการเลือกตั้งเป็นไปตามที่สภาทหารต้องการ สิ่งที่จะเกิดขึ้นและน่าจับตามองที่สุด คือถ้านายมูฮำหมัด มูรซี ชนะ ก็คงต้องยอมสยบอยู่ใต้กรอบต่างๆ ที่สภาทหารขีดวางไว้ จนเหมือนกับถูก “จูงจมูก” หรือกลายเป็น “หุ่นเชิด” ในเมื่อกำเนิดของพรรคภราดรภาพตอกย้ำภาพลักษณ์และชื่อเสียงไปในทางที่ทุกคนวิตกกังวลกันทั่วโลก สภาทหารจึงต้องแก้เกมนี้โดยเฉพาะ
                 แต่ถ้าหากนายอะหมัด ชาฟิก เป็นผู้ชนะ ทุกอย่างก็คงเข้าที่เข้าทาง เพราะการเมืองระบบเก่ายังดำรงต่อไป แม้นายอะหมัด ชาฟิก จะเป็นคนใหม่ รัฐบาลใหม่ แต่อุดมการณ์การทำงานก็ยังคงไว้ซึ่งแบบเก่า หลายๆคนในประเทศและต่างประเทศก็ยินดีด้วยเพราะไม่ต้องคอยหวั่นวิตกถึงการพัฒนาและการเข้าสู่สังคมโลกได้อย่างกว้างขวาง
                 อียิปต์ เป็นประเทศอิสลามที่ใจกว้างและหลากหลายรสชาติ อียิปต์เป็นประเทศที่อยู่แล้วรู้สึกถึงความปลอดภัย ชาวอียิปต์เป็นคนกันเองถ้าได้สนิทกันจริงๆจะรู้ว่าอียิปต์เป็นชนชาติที่น่าคบหาเป็นที่สุด และสามารถตายแทนกันได้ อาจจะเป็นคนตรงไปตรงมาแต่อียิปต์เป็นคนที่โกรธแล้วหายเร็ว และไม่ชอบสร้างศัตรูระยะยาว นี่คือสิ่งที่ดีของชาวอียิปต์ ไม่ว่าใครจะชนะ ผมก็ยืนยันว่า ผมรักอียิปต์ตลอดไป...
                  ... "ขณะที่ปั่นต้นฉบับเรื่องนี้ ผมรู้สึกคิดถึงและเป็นห่วงประเทศไทยเรา เพราะประเทศเราก็ไม่ได้สงบสุข มีการขัดแย้งทางการเมือง การแบ่งแยกสี และมีคราบน้ำตาที่ต้องสูญเสียครอบครัวและคนที่รักไป แต่ผมรู้สึกอุ่นใจที่ประเทศเรายังมี "พ่อหลวง" เป็นที่พักใจของพวกเราทุกคน ซึ่งชาวอียิปต์ไม่มีใครให้อุ่นใจได้เท่ากับประเทศเรา แล้วทำไมเราคนไทยถึงไม่เชื่อฟังคำที่ "พ่อหลวง" สั่งสอน และแบบอย่างที่ดีๆ นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้วของคนไทยเรา
.......................................
(ฟาโรห์ 2012 ตัวจริงหรือแค่หุ่นเชิด ในอุ้งมือทหาร : เปิดโลกวันอาทิตย์ : โดย...ดลหมาน ณ ไคโร)
http://www.komchadluek.net/detail/20120624/133531/%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B9%8C2012%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%94.html

18 มิถุนายน 2555

จับตา ขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" หลังฮุสนีย์ หมดอำนาจ


Sun, 2011-02-13 11:19

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
และแล้วรองประธานาธิบดีอุมัร สุไลมาน รองประธานาธิบดีอียิปต์ ได้ออกมาแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอียิปต์ว่า ประธานาธิบดีฮุนีย์ มูบาร๊อก ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งแล้ว ตามข้อเรียกร้องของประชาชนนับล้านคนที่ชุมนุมขับไล่เขามาอย่างต่อเนื่องเป็น เวลา 18 วันติดต่อกัน
โดยฮุสนีย์ มูบาร๊อกได้ส่งมอบอำนาจในการปกครองประเทศให้แก่คณะผู้บัญชาการกอง ทัพ ซึ่งมี นายมุฮัมหมัด ฮุสไซน์ ฏอนฎอตวีย์ รมว.กลาโหม เป็นหัวหน้าคณะ
หลังจากทราบข่าวการสละตำแหน่งของผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศมา อย่างยาวนานถึง 3 ทศวรรษ ประชาชนชาวอียิปต์ต่างออกมาร่วมกันเฉลิมฉลองตามท้องถนน
เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่กองทัพกลายเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากนายฮุสนีย์ มูบาร๊อกนั้น มีลักษณะคล้ายกับการทำรัฐประหาร ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญแล้วฮุสนีย์ มูบาร๊อก ควรจะคืนอำนาจให้แก่ประธานรัฐสภาไม่ใช่ผู้นำกองทัพแต่อย่างใด
ทั้งนี้ คณะผู้บัญชาการกองทัพได้ประกาศว่าจะทำการยกเลิกกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่ง ถูกประกาศบังคับใช้มาเป็นเวลา 30 ปี ทันทีที่สถานการณ์จลาจลในประเทศสงบลง นอกจากนี้ พวกเขาจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นมีความเป็นอิสระและ ยุติธรรม รวมทั้ง จะทำให้กิจการธุรกิจต่างๆ ภายในประเทศกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติอีกครั้งหนึ่ง
คำถามที่ชาวโลกยากทราบว่าต่อไปใครจะครองอำนาจหลังจากการเลือกตั้ง  หากย้อนกลับไปดูตลอด ๑๘ วันของการประท้วงพบว่า
ผู้นำการประท้วงครั้งนี้ คือกลุ่มยุวชน "เอพริล 6 มูพเมนท์"  หรือแปลว่า “ขบวนการ 6 เมษา” โดยมีพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านต่างๆร่วมกันสนับสนุนโดยอ้างว่าประธานาธิบดีฮุสนี ย์  มูบาร๊อกใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศกว่า สามสิบปีเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง มิหนำ่ซำคนส่วนใหญ่ของประเทศยังว่างงานและยากจนตลอดทั้งใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ จำกัดศัตรูทางการเมืองทุกวิธีทางอย่างโหดเหี้ยม
จริงอยู่ผู้นำการประท้วงครั้งนี้ คือกลุ่มยุวชน "เอพริล 6 มูพเมนท์" ร่วมกับพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านต่างๆแต่โดยเชิงลึกพบว่า แกนนำเยาวชนหลายคนเป็นสมาชิก ของขบวนการ “ญามาอ๊ะอิควานมุสลิมูน” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า  "ภราดรภาพมุสลิม" 
จากเหตุผลดังกล่าวทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป (ผู้นำด้านเสรีประชาธิปไตย) ไม่กล้ากดดันฮุสนีย์ ให้ลงจากตำแหน่งเหมือนผู้นำเผด็จการอื่นๆในโลกตะวันออกอย่างทันทีหรืออกหน้า ออกตาในช่วงแรก
(๕ กุมภาพันธ์ ๕๔) สหรัฐอเมริกาพันธมิตรด้านผลประโยชน์อย่างแนบแน่นกับฮุสนีย์ ได้กล่าวเพียง เป็นนัยยะเท่านั้นว่าประธานาธิบดีฮุสนีย์ ควรลงจากอำนาจ
      
ประธานาธิบดีโอบามาแห่งสหรัฐฯ ประกาศจุดยืนอย่างอ้อมๆ ว่า  "ผมเชื่อว่าประธานาธิบดีมูบาร๊อกเป็นห่วงประเทศของเขา เขาหยิ่งทะนง แต่เขาก็เป็นคนรักชาติ…สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำเขาคือ เขาจำเป็นต้องปรึกษาผู้ที่อยู่รอบตัวเขาในรัฐบาล"
"เขาจำเป็นต้องฟังสิ่งที่ได้รับการร้องขอโดยประชาชนชาวอียิปต์ และตัดสินใจเกี่ยวกับเส้นทางข้างหน้าอย่างเป็นระเบียบ แต่มีความหมาย และจริงจัง"
      
การที่โอบามาไม่ได้กล่าวออกมาอย่างชัดเจน แต่การเลือกใช้คำพูดของเขาแสดงให้เห็นชัดว่าข้อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยน ผ่านทางการเมืองในทันทีของสหรัฐนั้นไม่ได้หมายรวมถึงพันธมิตรคนสนิท ซึ่งเป็นศูนย์กลางนโยบายตะวันออกกลางของสหรัฐฯ และมีประโยชน์ร่วมกับอิสรอเอล
อเมริกาและตะวันตกทราบดีว่า หากประธานาธิบดีฮุสนีย์  ยอมลงจากเก้าอี้อย่างทันทีในขณะนั้นและจัดให้มีการเลือกตั้งจะทำให้กลุ่มการ เมืองภายใต้ร่มธงของขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม"  ขึ้นครองอำนาจแทนทันทีซึ่งสิ่งนี้โลกตะวันตกเกรงกลัวมากว่า
และปัจจุบันหลังจากฮุสนีย์ประกาศลาออกและคณะผู้บัญชาการกองทัพได้ประกาศ ว่าจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นมีความเป็นอิสระและ ยุติธรรม อเมริกาและตะวันตกยังกังวลอยู่ลึกๆ
ทำไม? เพราะแนวคิดทางการเมืองของขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม"  คือ การสร้างรัฐภายใต้ อิสลามานุวัตร ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยกล่าวคือเป้าหมายคือการสร้างรัฐอิสลามอุดมคติในยุค โลกาภิวัตร  โดยใช้กระแสกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ตะวันตก
การขึ้นมีอำนาจของขบวนการอิสลามในแต่ละประเทศซึ่งใช้กระบวนการ ประชาธิปไตยนั้นกำลังเป็นกระแสที่ถูกตอบรับในโลกมุสลิม ไม่ว่าที่อัลจีเรียเมื่อสิบกว่าปี (หลังจากนั้นถูกปฏิวัติโดยทหาร) ตุรกี  ปาเลสไตน์ จอร์เดน   เยเมนและที่อื่นๆแต่กำลังเป็นภัยคุกคามโลกตะวันตกภายใต้การนำของสหรัฐ อเมริกา
ตะวันตกทราบดีว่า การกำเนิดขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม"  นั้นเพื่อสถาปนาระบบคอลิฟะห์อิสลามมียะห์ (รัฐอิสลาม) ภายหลังจากอาณาจักรออตโตมานได้สิ้นสลาย
ผู้นำคนแรกของ "ภราดรภาพมุสลิม" คือ อิหม่ามชะฮีด หะสัน อัลบันนา (ค.ศ. 1906 –1949) ท่านเป็นผู้วางหลักสูตรการสร้างบุคลิกภาพสมาชิกของขบวนการอย่างชาญฉลาดโดย สร้างให้สมาชิกเข้าใจหลักศาสนาอิสลามคือแนวทางการดำเนินชีวิตที่ไม่สามารถ แยกระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักร  โดยทุกคนต้องผ่านหลักสูตรการสร้างบุคลิกภาพมุสลิมผ่านสาส์น 20 ฉบับ กล่าวถึงหลายๆประเด็นต่างกรรมต่างวาระ ตั้งแต่คำสอนทางศาสนา จุดยืนทางการเมือง เศรษฐกิจ การจัดการองค์กร และอื่นๆ
หะสัน อัลบันนา เขาเริ่มก่อตั้งขบวนการ ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1932  , ปี ค.ศ. 1948 ขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม"   เข้าร่วมรบกับปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านยิวและในเดือน พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มะฮ์มูด อัลนักรอซี (Mahmud al-Naqrasi ) ประธานสภาอิยิปต์ ในสมัยนั้น ได้ออกคำสั่งปราบปรามขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม"   ทรัพย์สินของขบวนการถูกยึด แกนนำของขบวนการหลายคนถูกจับกุม
ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1948 อันนักรอซีถูกลอบสังหาร และขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม"  ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ลงมือสังหารเขา บรรดาพรรคพวกของอัลนักรอซี ซึ่งติดตามศพเขา ต่างโห่ร้องว่า ศรีษะของอัลนักรอซี ต้องแลกด้วยศรีษะของหะสัน อัลบันนา และในวันที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 หะสัน อัลบันนาก็ถูกลอบสังหาร
ในปีค.ศ. 1950 ขบวนการ ได้รับการปลดปล่อย เพราะคำสั่งของอัลอักรอซี ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ ขบวนการได้เลือก หะสัน อัล-หุดัยบี ( Hasan al-Hudaibi ) เป็นผู้นำ แต่เขาถูกจับหลายครั้งและในปี ค.ศ. 1954 เขาถูกตัดสินประหารชีวิต ต่อมาได้รับลดโทษ ให้จำคุกตลอดชีวิต
ในปี ค.ศ. 1951 วิกฤตการณ์ ความขัดแย้งระหว่าง อังกฤษ และอียิปต์ เพิ่มทวีขึ้นขบวนการ ได้เข้าโจมตีอังกฤษ ณ คลองสุเอซ
ปี ค.ศ. 1952 เกิดการปฎิวัติโค้นล้มกษัตย์อียิปต์ซึ่งมีอังกฤษคอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง การปฎิวัตินี้นำโดย มุฮัมมัด นายีบ ( Muhammad Najib ) โดยที่ได้รับการสนับสนุนจากขบวนการ
หลังจากการ ปฎิเสธการเข้าร่วมรัฐบาล เพราะแนวคิดของขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม"  ไม่สอดคล้องกับรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ญามาล อับดุลนาซีร ( Jamal Abdunnasir ) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีในสมัยนั้น ถือว่าขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม"  ปฎิเสธการปฎิวัต ทั้งสองฝ่ายเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1954 สมาชิกขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม"  ถูกจับ สมาชิกหลายพันคน หนีอย่างกระเจิดกระเจิง พวกเขาถูกกล่าวหาว่าพยายามลอบสังหาร ญามาล อับดุลนาซีร
ปี ค.ศ. 1965- 1966 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม"   ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งอย่างรุงแรง และไปสู่การจับกุมสมาชิกของขบวนการ   สมาชิกหลายคนถูกทรมาน และสมาชิกหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้งซัยยิด กุฎบ์ซึ่งเขาเป็นนักคิดนักวิชาการของขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม"  คนที่สอง หลังจากหะสันน อัลบันนา ซึ่งถูกลอบสังหาร (อ้างใน http://khozafi-shahaan.blogspot.com/2010/10/blog-post_9754.html และ http://www.scribd.com/doc)
สมัยอันวาร์ ซาดัต (Muhammad Anwar al-Sadat) เป็น ประธานาธิบดี แห่งอียิปต์ เขาพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะจัดการขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม"  แต่ท้ายสุดเขาก็ถูกลอบยิงเสียชีวิตเสียก่อน
สมัยนายฮุสนีย์ก็เช่นกันพยายามทุกวิถีทางในการจัดการ ขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" เช่นกันแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะกระแสประชาธิปไตยของโลกทำให้สมาชิกหลายคนของขบวน การ "ภราดรภาพมุสลิม" รับสมัครลงเลือกตั้งและชนะการเลือกเขาสู่สภาจนสามารถมีบทบาทในสภา ในขณะเดียวกันประชาชนรากหญ้าและผู้มีการศึกษาจากทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะผู้รู้ และเยาวชนได้เขามาเป็นสมาชิกเพิ่มจำนวนมากขึ้นทั้งทางลับและเปิดเผย
การต่อต้านเผด็จการฮุสนีย์อย่างสันติได้รับการสนับสนุนอย่างออกหน้าออกตา จากผู้นำขบวนการอิสลาม"ภราดรภาพมุสลิม" คนปัจจุบันคือ มุฮัมมัด บาดีอฺ พร้อมทั้งจากปราชญ์อิสลามที่เป็นนักคิดไม่ว่าในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรหรือนอก มหาวิทยาลัยโดยท่านเหล่านนั้นให้ทัศนะว่า เป็นที่อนุญาตในการต่อต้านผู้นำที่อธรรม
ชัยค์ ดร. ยูซุฟ อัลก๊อรฎอวีย์ ได้ให้ทัศนะว่าฮุสนีย์ควรลงจากตำแหน่งอย่างไม่มีเงื่อนไขและรีบออกนอกประเทศ 
แน่นอนที่สุด ประเทศอียิปต์หลังจากการหมดอำนาจของฮุสนีย์ มูบาร๊อกและพวกพ้องหากมีการเลือกตั้งจะเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มเสรี ประชาธิปไตยแบบตะวันตกกับอิสลามมาธิปไตยจากขบวนการเคลื่อนไหวของ  "ภราดรภาพมุสลิม"
ความเป็นจริงกลุ่มต่างๆที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในอียิปต์มีทั้งแนว คิดสุดโต่งและสายสันติวิธีแต่ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะแนวสันติวิธีโดย เฉพาะพรรคฝ่ายค้านนั้นมีสองขั้วคือเสรีประชาธิปไตย กับอิสลามาธิปไตยโดยใช้กระบวนการประชาธิปไตยเป็นทางผ่าน
ขั้วเสรีประชาธิปไตยนั้นนั้นมีแนวคิดชัดเจนว่าจะสร้างรัฐอียิปต์เป็นรัฐ ฆราวาส (secular state) ซึ่งจะมีตะวันตกคอยสนับสนุน ในขณะที่ขั้วอิสลามาธิปไตยจะอยู่ภายใต้ร่มธงของขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม"  ซึ่งได้รับการสนับจากนักคิดและ นักการศาสนาอิสลามและตลอดระยะเวลาเกือบศตวรรษสามารถสร้างบุคลากรและสมาชิก จากหลากหลายอาชีพทั้งในกรุงไคโรและต่างจังหวัดที่สำคัญสามารถกุมคะแนนเสียง จากชนชั้นกลางของอียิปต์ด้วยเช่นกัน
ชัยค์ ดร. ยูซุฟ อัลก๊อรฎอวีย์ ได้ให้ทัศนะต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการอิสลามในนามประชาธิปไตยไว้ว่า หาก เฝ้าดูประวัติศาสตร์ของขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามในยุคสมัย ใหม่ให้ใกล้เข้าไปยิ่งขึ้นจะเผยให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อุดมการณ์อิสลาม, ขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามและการตื่นตัวเข้าสู่อิสลามไม่เคยได้เฟื่องฟูหรือ ผลิดอกออกผล เว้นแต่ในบรรยากาศของประชาธิปไตยและเสรีภาพ  และจะอับเฉาและเป็นหมันก็เฉพาะในยุคของการกดขี่และการปกครองแบบทรราช ที่เหยียบย่ำเจตนารมณ์ของประชาชนที่จงรักภักดีต่ออิสลามเท่านั้น ระบอบการปกครองแบบกดขี่ดังกล่าวได้นำเอาลัทธิเซ็คคิวล่าร์ (แยกศาสนจักรกับจากอาณาจักร) ลัทธิสังคมนิยมหรือลัทธิคอมมิวนิสต์มายัดเหยียดให้กับประชาชนของตนเองโดยการ ใช้กำลังและการบังคับขู่เข็ญ ใช้การทรมานอย่างลับๆ และการสำเร็จโทษต่อหน้าสาธารณะ และใช้เครื่องไม้เครื่องมืออันโหดเหี้ยมเหล่านั้นที่ฉีกทึ้งเนื้อหนัง ละเลงเลือด บดขยี้กระดูกและทำลายจิตวิญญาณ    เรา พบเห็นการปฏิบัติเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศมุสลิมหลายๆ ประเทศ ซึ่งรวมทั้งตุรกี, อียิปต์, ซีเรีย, อิรัค, เยเมนใต้, โซมาเลียและรัฐต่างๆ บริเวณอัฟริกาเหนือในช่วงเวลาต่างๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุคสมัย 
หรือระบอบการปกครองของเผด็จการแต่ละประเทศ ใน ทางตรงข้าม เราพบเห็นขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามผลิดอกออกผลและเฟื่องฟูในยุคสมัยของ เสรีภาพและประชาธิปไตยภายหลังการล่มสลายของระบอบการปกครองจักรวรรดินิยม ซึ่งปกครองประชาชนด้วยความหวาดกลัวและการกดขี่ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่จินตนาการไปหรอกว่าขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามสามารถสนับสนุนสิ่ง หนึ่งสิ่งใดอื่นไปจากเสรีภาพทางการเมืองและประชาธิปไตยได้  เหล่า ทรราชยินยอมให้เสียง(ของระบอบ)อะไรก็ได้ดังขึ้น นอกจากเสียงของอิสลาม และยังยินยอมให้ทุกแนวความคิดได้แสดงตัวเองออกมาในรูปของพรรคการเมือง หรือองค์กรในบางประเภท ยกเว้นกระแสอิสลาม ซึ่งเป็นแนวความคิดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่มีปากมีเสียงเพื่อประชาชาติ นี้ อย่างแท้จริง และแสดงหลักความเชื่อ, คุณค่า, แก่นแท้และการมีอยู่จริงของตัวเองออกมา    อย่าง ไรก็ตาม เหล่านักเคลื่อนไหวอิสลามบางคนยังคงสงวนท่าทีของตัวเองเกี่ยวกับประชาธิปไตย แถมยังมีความระมัดระวังเกี่ยวกับคำว่า "ประชาธิปไตย" ในตัวของมันเอง สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจะเน้น ณ ที่นี้ก็คือว่าอิสลามไม่ใช่ประชาธิปไตย และประชาธิปไตยก็ไม่ใช่อิสลามเหมือนกัน ข้าพเจ้ามิได้ปรารถนา ให้อิสลามไปสังกัดอยู่ในหลัก
การหรือระบอบใดๆ อิสลามมีความเป็นเอกในแง่วิธีการ, จุดหมายปลายทางและแบบวิธีต่างๆ ที่เป็นของตนเอง และข้าพเจ้าเองก็มิได้ปรารถนาจะให้ประชาธิปไตยของตะวันตกได้รับการถ่ายทอดมา ยังพวกเราในสภาพที่มีอุดมการณ์และคุณค่าอันเลวร้ายพ่วงท้ายมาด้วย โดยที่เราเองไม่ได้นำเอาคุณค่าและอุดมการณ์ต่างๆ ของเราเข้าไปผนวกเข้ากับประชาธิปไตย ทั้งนี้เพื่อผสมผสานประชาธิปไตยเข้ากับระบอบที่กว้างขวางลึกซึ้งของเราจน เป็นเนื้อเดียวกัน (อ้างใน http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=522)
ดังนั้นในอนาคตหากอำนาจทางการเมืองตกไปอยู่ภายใต้ร่มธงของขบวนการ ภราดรภาพอิสลาม จะทำให้อียิปต์ ตกอยู่ภายใต้ รัฐอิสลามสายซุนนีย์ที่มีความแข็งแกร่งด้านการทหารอีกประเทศหนึ่งเคียงคู่ อิหร่านซึ่งเป็นรัฐสายชีอ๊ะห์ และจะยังความกังวลกับตะวันตกและอิสรอเอลอย่างแน่นอน
                     



รัฐบาลไทยมีส่วนร่วมในการสร้างหอพักนักศึกษาไทยในเขตหอพักนานาชาติ(บูอูส)
     รัฐบาลไทยได้ให้การตอบรับในการมีส่วนร่วมในการก่อสร้างอาคารหอพักนานาชาติในบริเวรหอพัก เพื่อที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายในขณะที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ซึ่งมีจำนวนนักศึกษาชายอยู่ 1670 คน และ หญิง 550 คน โดย 365 คนพักในหอพักนักศึกษานี้
    ในการนี้นายชลิต มานิตยกุล เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงไคโรได้กล่าวว่า ความพยายามดังกล่าวเกิดจากความต้องการของรัฐบาลที่ต้องการแบ่งเบาภาระทางการเงิน และตอบรับความสนใจทีเพิ่มขึ้นของนักศึกษาไทยที่ต้องการสมัครเรียนกับมหาวิทยาลัยนี้ ที่มีแนวทางสายกลาง และ นักปราชญ์ที่มีเกียรติ และนักศึกษาจะได้นำความรู้ที่เล่าเรียนมาไปพัฒนาประเทศต่อไป 
     ทางกระทรวงการต่างประเทศได้รายงานว่าจำนวนนักศีกษาอัลอัซฮัรที่เพิ่มขึ้นจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ในการนี้เอกอัครราชทูตฯได้เชิญท่านแกรนด์อิหม่ามเยือนประเทศไทยเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยท่านแกรนด์อิหม่ามได้ตอบรับคำเชิญและให้การสัญญาว่าจะได้ไปเยือนในเร็วๆนี้.(แปลโดย นายเรื่องราวฯ)

17 มิถุนายน 2555

การถือศีลอด นิยามและฮุกุ่ม

คำนิยาม

تعريف الصيام
هو الإمساك عن شهوتَيْ البطن والفرج من طلوع الفجر إلى غروب الشمس بنية.
การถือศีลอดคือการอดกลั้นจากความต้องการของท้อง(อาหารและน้ำ)และอวัยะเพศ(ความต้องการทางเพศ) เริ่มจากการปรากฎฟาญัร(บนท้องฟ้า) กระทั่งดวงอาทิตย์ตกดินโดยมีการเนียต
فالصوم الشرعي: إمساك وامتناع إرادي عن الطعام والشراب ومباشرة النساء وما في حكمهم خلال يوم كامل من طلوع الفجر إلى غروب الشمس بنية التقرب إلى الله تعالى.
การถือศีลอดตามนิยามนักปราชญ์ฟิกฮ์ คือการอดกลั้นและห้ามความต้องการจากอาหารและเครื่องดื่มและการมีเพศสัมพันธุ์และข้อห้ามที่ทำให้เสียการถือศีลอดเริ่มจากการปรากฎของฟาญัรถึงดวงอาทิตย์ตกดิน


บทบัญญัติจากอัลกุรอ่านและอัลฮาดิส
قال تعالى: "وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتّى يَتَبَيّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّوا الصِّيَامَ إلَى الَّيْلِ".(سورة البقرة- آية187)
อัลกุรอ่าน  :   และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาว ( หมายถึงแสงสว่างของรุ่งอรุณ) จะประจักษ์แก่พวกเจ้าจากเส้นดำ( หมายถึงความมืดของกลางคืน )เนื่องจากแสงรุ่งอรุณแล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็มจนถึงพลบค่ำ

وفي الحديث الشريف: قوله صلى الله عليه وسلم فيما يرويه عن رب العزة "كل عمل ابن آدم له إلا الصوم فإنه لي وأنا أجزي به يدع طعامه وشرابه وشهوته من أجلي" (متفق عليه).

อัลฮะดิส : ท่านศาสดาได้กล่าวจากคำตรัสของอัลลอฮว่า  ทุกอามัลอิบาดัตลูกๆอาดัมถือเป็นของเขายกเว้นการถือศีลอด แน่แท้มันเป็นของฉันและฉันจะตอบแทนความดีนั้นเอง เขายอมละทิ้งอาหารและเครื่องดื่มและความต้องการทางเพศของเขาทั้งหมดเขาทำเพื่อฉัน-  รายงานโดยอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม)



ความประเสริฐของการถือศีลอด

فضل الصيام:
عن أبى هريرة أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : قال الله عز وجل : " كل عمل ابن آدم له إلا الصيام ، فإنه لي وأنا أجزى به ، والصيام جنة فإذا كان يوم صوم أحدكم فلا يرفث ولا يصخب ولا يجهل ، فإن شاتمه أحد أو قاتله فليقل : إني صائم - مرتين - والذي نفس محمد بيده لخلوف فم الصائم أطيب عند الله يوم القيامة من ريح المسك ، وللصائم فرحتان يفرحهما : إذا أفطر فرح بفطره ، وإذا لقي ربه فرح بصومه "
رواه أحمد ومسلم والنسائي

وعن عبد الله بن عمرو أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : " الصيام والقرآن يشفعان للعبد يوم القيامة ، يقول الصيام أي رب منعته الطعام والشهوات بالنهار فشفعني فيه . ويقول القرآن : منعته النوم بالليل ، فشفعني فيه ، فيشفعان "
رواه أحمد بسند صحيح .
وعن أبى سعيد الخدري رضى الله عنه : أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : " لا يصوم عبد يومًا في سبيل الله إلا باعد الله بذلك اليوم النار عن وجهه سبعين خريفًا "
رواه الجماعة إلا أبا داود
ความลับของบทบัญญัตินี้
حكمة مشروعية الصيام:
شُرع الصوم لحكم سامية منها:
1- تزكية النفس بطاعة الله فيما أمر والانتهاء عما نهى وتدريبها على كمال العبودية فالإنسان يستطيع أن يأكل ويشرب ويباشر زوجته ولكنه يترك ذلك كله ابتغاء وجه الله ليدرب نفسه على كمال العبودية ويزكيها ويطهرها.
2- الغريزة الجنسية من أخطر أسلحة الشيطان في إغواء الإنسان، وللصوم تأثيره في كسر هذه الشهوة ولهذا وصفه النبيّ صلى الله عليه وسلم للشباب الذي لا يجد نفقات الزواج، حتى يغنيه الله من فضله فقال: "يا معشر الشباب من استطاع منكم الباءة فليتزوج فإنه أغض للبصر وأحفظ للفرج ومن لم يستطع فعليه بالصوم فإنه له وجاء" رواه البخاري ومسلم.
3- إشعار الصائم بنعمة الله تعالى عليه . فإن الإنسان لا يحس بنعمة الشبع والريّ إلا إذا جاع أو عطش، فإذا شبع بعد جوع أو ارتوى بعد عطش، قال من أعماق قلبه: الحمد لله ودفعه ذلك إلى شكر نعمة الله عليه.
4- وله حكمة اجتماعية لأنه يفرض الجوع إجبارياً على كل المسلمين لا فرق بين غني قادر أو محروم مما يؤدي إلى المساواة الإلزامية في الحرمان والجوع حتى يحس الغني بالفقير. ولهذا جاء في بعض الأحاديث تسمية رمضان "شهر المساواة" (روي ذلك من حديث سلمان عند ابن خزيمة في صحيحه).
5- الصيام يعد الإنسان لدرجة التقوى والارتقاء في منازل المتقين، فالصوم يحفظ على القلب والجوارح صحتها ويعيد إليها ما استلبته منها أيدي الشهوات، فهو أكبر عون على التقوى، كما قال تعالى "يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ".(سورة البقرة.آية183)

ความประเสริฐของเดือนรอมดอน
فضل شهر رمضان
عن سهل بن سعد "أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: "إن للجنة باباً يقال له الريان يقال يوم القيامة أين الصائمون، فإذا دخل آخرهم أغلق ذلك الباب" رواه البخاري ومسلم.
وعن أبي هريرة رضي الله عنه أن النبي صلى الله عليه وسلم قال لما حضر رمضان "قد جاءكم شهر مبارك افترض عليكم صيامه تفتح فيه أبواب الجنة، وتغلق فيه أبواب الجحيم، وتغل فيه الشياطين فيه ليلة خير من ألف شهر، من حرم خيرها فقد حرم" رواه أحمد والنسائي والبيهقي.
وعن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم "من صام رمضان إيماناً واحتساباً غفر له ما تقدم من ذنبه" رواه أحمد وأصحاب السنن.

ฮุกุมการถือศีลอด
حكم الصيام
الصيام فرض عين على كل مسلم وهو ركن من أركان الإسلام الخمسة،
- وقد ثبت وجوبه بالقرآن والسنة والإجماع.
- – أما القرآن: فقال تعالى " يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ.أيَاماً مَعْدُودَاتٍ" ثم قال "شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدىً لِلنّاسِ وَبَيّنَاتٍ مِنَ الهُدَى وَالفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ".(سورة البقرة.الآيات من 183،185)
وجاء في السنة: عن عمر في حديث جبريل المشهور عنه صلى الله عليه وسلم أنه قال"الإسلام أن تشهد أن لا إله إلا الله وأن محمداً رسول الله وتقيم الصلاة وتؤتي الزكاة وتصوم رمضان وتحج البيت إن استطعت إليه سبيلا" رواه مسلم والترمذي والنسائي
وحديث أبي هريرة أن أعرابياً أتى النبي صلى الله عليه وسلم فقال: دلني على عمل إذا عملته دخلت الجنة قال "تعبد الله لا تشرك به شيئاً ... وتصوم رمضان" متفق عليه.
وقد أجمع المسلمون من جميع المذاهب والطوائف منذ عهد النبوة إلى يومنا هذا على وجوب صيام رمضان وأنه فرض عين على جميع المسلمين المكلفين وأنه ركن من أركان الإسلام الخمسة

กลุ่มบุคคลที่วาญิบต้องถือศีลอด
وجوب الصيام
يجب الصيام على كل من:
1- المسلم: فلا صيام على الكافر لأنه غير مطالب بتكاليف الإسلام حال كفره ولو صام لا يقبل منه وإذا أسلم لا يقضي ما فاته من صيام حال كفره.
2- البالغ: فلا صيام على الصبي حتى يحتلم ومعنى يحتلم أي يبلغ سن الرشد لقول النبي صلى الله عليه وسلم "رفع القلم عن ثلاثة: عن الصبي حتى يبلغ وعن النائم حتى يستيقظ وعن المجنون حتى يفيق" رواه أحمد وأبو داود والترمذي ؛
وعلامة بلوغ الصبي بالاحتلام ؛ وعلامة بلوغ الفتاة بنزول دم الحيض منها. وأما من تأخر عنده الاحتلام أو تأخر عندها دم الحيض فبلوغه يكون بسن مثله.
3- العاقل: فلا صيام على المجنون لحديث رفع القلم عن ثلاثة " .. وعن المجنون حتى يفيق" رواه أحمد وأبو داود
وإن أفاق لا يجب عليه قضاء ما فاته في حال الجنون لأنه صوم فات في حال سقط فيه التكليف لنقص.
4- المقيم: فلا يجب الصيام على المسافر مسافة تقصر فيها الصلاة لقوله تعالى "وَمَنْ كَانَ مَرِيضاً أوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أيَّامٍ أُخَرٍ"(سورة البقرة.آية185)
وإن صام المسافر يصح صيامه.
5- القادر على الصيام: فلا صيام على الشيخ الفاني الذي لا يستطيع الصيام وإنما عليه الفدية. ولا صيام على المريض مرضاً مزمناً لا يستطيع معه الصيام لقوله تعالى "وَعَلَى الّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ".(سورة البقرة.آية184)

เงื่อนไขของการถือศีลอด
شروط صحة الصيام
1- طهارة المرأة من الحيض والنفاس
فلا صيام على الحائض والنفساء ولا يصح منهما فإذا طهرتا وجب عليهما القضاء لما روت عائشة رضي الله عنها أنها قالت في الحيض "كنا نؤمر بقضاء الصوم ولا نؤمر بقضاء الصلاة" رواه مسلم
وإذا طهرت الحائض أو النفساء قبل غروب الشمس استحب لها أن تمسك بقية النهار ولكن لا يجب عليها ذلك.
ويجوز للمرأة تناول الحبوب التي تؤخر الحيض مثل حبوب منع الحمل حيث تستمتع بصيام الشهر كله وقيامه ولا يفوتها شيء من صيام أيامه ولا قيام لياليه. ولكن الذي يوافق عمل المسلمين في خير القرون، أن تساير المرأة الفطرة التي فطر الله الناس عليها وهذا الأمر كتبه الله على بنات آدم كما صح في الحديث، ولا حرج على المسلمة أن تفطر وتقضي ما فاتها بعد رمضان كما كان يفعل نساء السلف الصالح. على أن تناول هذه الحبوب ليس ممنوعاً شرعاً، إذ لا دليل على منعه ما لم يكن من ورائه ضرر على المرأة، كما لا يليق بالفتاة العذراء أن تتناول هذا النوع من الحبوب.
2- الإسلام: فلا صيام على غير المسلم وإن صام لا يصح منه ولا يجزئه إذا أسلم ولا يقضي ما فاته بعد إسلامه.
3- الوقت القابل للصيام، أي لا بد أن يكون صيام الفريضة في شهر رمضان لا في غيره من الشهور لأن الله قد خصه بالذكر فلا يجوز في غيره، ولقول الرسول صلى الله عليه وسلم "صوموا لرؤيته وأفطروا لرؤيته" رواه 
البخاري ومسلم أي لرؤية هلال شهر رمضان


รูก่นการถือศีลอด
للصيام ركنان:
النية: لقوله تعالى "وَمَا أُمِرُوا إلا لِيَعْبُدُوا الله مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ" (سورة البينة.آية
وقول الرسول صلى الله عليه وسلم "إنما الأعمال بالنيات وإنما لكل امرئ ما نوى".رواه البخاريّ ومسلم.
وتصح في أي جزء من أجزاء الليل ولا يشترط التلفظ بها فإنها عمل قلبي لا دخل للسان فيه فإن حقيقتها القصد إلى الفعل امتثالاً لأمر الله وطلباً لوجهه الكريم فمن تسحر بالليل قاصداً الصيام تقرباً إلى الله بهذا الإمساك فهو ناوٍ ومن عزم على الكف عن المفطرات، أثناء النهار مخلصاً لله فهو ناوٍ كذلك وإن لم يتسحر.
-2الإمساك عن المفطرات من طلوع الفجر إلى غروب الشمس

เปิดโลกการศึกษามุสลิม ตอน: เจาะ“ครุศาสตร์อิสลาม”ม.อัลอัซฮัร : คอลัมน์เปิดโลกการศึกษามุสลิม

“การมีโอกาสได้ศึกษาต่อ สามารถต่อเติมชีวิตให้กับคนยากไร้ เสมือนเทียนไขที่ได้ถูกจุดขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากส่องประกายให้ตัวเองแลัว ยังสามารถที่จะส่องแสงสว่างให้คนรอบข้าง สังคม ได้อีกด้วย”  “แบแม”  หนุ่มปัตตานี ผู้ซึ่งมีฝันและไม่เคยท้อถอยกับการใช้ชีวิตในประเทศอียิปต์ จะมาฉายภาพ คณะ “อัตตัรบียะห์ หรือครุศาสตร์”  ม.อัลอัซฮัร อย่างละเอียด



 แวดือราแม เจะดอเลาะ หรือแบแม จบประถมจาก ร.ร.ชุมชนบ้านกรือเซะ และจบด้านศาสนาระดับซานาวี ม.ปลาย จาก ร.ร.จงรักสัตย์วิทยา (จ.ร.ว ) อ.เมือง จ.ปัตตานี  บิดาชื่อ แวสมาย เจะดอเลาะ มารดาชื่อ แมะซง ดอเฮง เป็นลูกชายคนโต ในพี่น้อง 7 คน ในครอบครัวนักปั่นขายผัก ที่ชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านและละแวกใกล้เคียงจะคุ้นตาเป็นอย่างดี และยังรับจ้างทำงานทั่วไป






                    แบแม อยู่กับคุณยายตั้งแต่อายุ 8 ขวบ หลังจากแม่เขาเสียชีวิต และยังต้องดูแลน้องสาวอายุห่างกันสามขวบ ตามคำสั่งเสียของแม่ “ช่วยแม่ดูแลน้องให้ดีๆ ด้วยนะลูก” จากนั้นไม่นานพ่อก็แต่งงานใหม่และมีน้องๆ เพิ่มอีก 5 คน แบแม เดินทางไปอียิปต์ ปี 2004 ปัจจุบันอยู่ปี 4 เข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ เอก ศึกษาศาสตร์อิสลาม วิทยาเขตไคโร เป็นนักศึกษาทุนของมหาวิทยาลัย ซึ่งคนที่จะเข้าเรียนต่อคณะนี้ ผลการเรียนต้องได้มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
                    ปี 1 มี 16 วิชา คือ 1.วจนะและความรู้เกี่ยวกับวจนะศาสดา (อัลอาดิษวัลอูลูม) 2.เอกภาพวิทยา (เตาฮีด) 3.อรรถาธิบายกรุอ่าน (ตัฟซีร) 4.ความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอ่าน (อูลูมกูรอ่าน) 5.วจนะศาสดา (อัลฮาดิษ) 6.พื้นฐานวิชาสังคม (อาซัซอิจญ์ติมะ) 7.หลักนิติศาสตร์จากอัลกุรอ่านและวจนะศาสนดา (ฟิกกีตาบวัสสุนนะห์) 8.หลักการปฏิบัติศาสนกิจ (ฟิกกีตาบ) 9.จริยธรรมศึกษา 10.ไวยกรณ์อาหรับและการผันคำ 11.พฤติกรรมศาสตร์ 12.หลักสูตรอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน 13.วิชาบทความวิจัย 14.อัลกุรอ่าน 15.ภาษาอังกฤษ 16.ครุศาสตร์
                    ปี 2 มี 15 วิชา คือ 1.ชีวประวัติเชิงวิเคราะห์ 2.เอกภาพวิทยา 3.อรรถาธิบายกุรอ่าน 4.ศาสนาเปรียบเทียบ 5.วจนะและความรู้เกี่ยวกับวจนะศาสดา (อัลอาดิษวัลอูลูม) 6.นิติศาสตร์อิสลามภาคเศรษฐศาสตร์ 7.การสอดแทรกในอัลกุรอ่าน 8.ครุศาสตร์อิสลาม 9.วรรณกรรมและวาทศาสตร์ 10.ปรัชญาและจริยธรรม 11.นิติบุคคลว่าด้วยเรื่องแบ่งมรดก 12.จิตวิทยาในกรพัฒนา 13.แนวคิดครุศาสตร์อิสลาม 14.ภาษาอังกฤษ 15.อัลกุรอ่าน
                    ปี 3 มี 20 วิชา และปี 4 มี 18 วิชา ส่วนใหญ่ จะเน้นรายวิชาเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับต่างๆ แนวทางการสอน จิตวิทยา เรื่องไอที สุขศึกษา และพลานามัย ที่สำคัญต้องไปฝึกสอนในระดับมัธยมตอนต้น และมัธยมตอนปลาย ใน โรงเรียนที่อยู่ภายใต้สังกัดมหาวิทยาอัลอัซฮัรอีกด้วย
                   “แบแม” เคยรับตำแหน่งประธานชมรม 2 สมัยและได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการสมาคมนักเรียนไทยฯ เป็นบรรณารักษ์ ปี 2552-2553 และเป็นที่ปรึกษานายกสมาคมฯ ได้รับใช้สังคมไทยในต่างแดน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน รู้รัก สามัคคี ฉันพี่น้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับกลับไปพัฒนาสังคม
                  "ความยากลำบากสมัยอยู่กับยายในอดีตที่ต้องช่วยเหลือตัวเองทุกอย่าง ทำให้การอยู่ในอียิปต์เป็นเรื่องปกติสำหรับผม เรื่องอาหารการกินในอียิปต์สะดวกสบาย ถ้าเราถ้าทำตัวง่ายๆ และไม่เลือกมากมาย การเดินทางก็สะดวก อาหารการกินก็สมบูรณ์ ปัจจุบันนี้ผมออกมาอยู่บ้านเช่ากับเพื่อนๆ ค่าเช่าเดือนละห้าร้อยห้าสิบ ปอนด์ (ประมาณสามพันบาท) เขตรุกซี่ ห่างจากมหาวิทยาลัยไม่ไกลหนัก ปกติทางบ้านจะส่งเงินมาให้เดือนละสองถึงสามพันบาท บางเดือนคนในหมู่บ้านจะร่วมสมทบทุนให้จำนวนหนึ่ง ช่วงปิดเทอมได้เข้าเรียนต่อ กศน.ไคโร จนได้ประกาศนียบัตร ทั้ง ม.ต้น และม.ปลาย เพราะสมัยเรียนที่เมืองไทย ภาคเช้าผมเรียนด้านศาสนาอย่างเดียว ส่วนภาคบ่ายออกทะเลและรับจ้างทั่วไปจึงไม่ได้เรียนต่อด้านสามัญ
                  "แบแม" บอกว่า ความหวังหลังจบการศึกษาอยากเป็นครูอย่างที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้น และการเรียนต่อปริญญาโท ด้านบริหารจัดการการศึกษา และการจัดตั้งกองทุนเด็กดีศรีหมู่บ้าน เพราะเด็กดีในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้าโดยเฉพาะเด็กยากจนที่ต้องการศึกษาแต่ไม่มีโอกาส ซึ่งนี่คือสิ่งที่เขาต้องการทำเป็นที่สุดสิ่งที่อยากเห็นการศึกษาบ้านเรามากที่สุดนอกจากความรู้ในและนอกตำราเรียนแล้ว อยากจะให้ส่งเสริมและปลูกฝังในเรื่อง มารยาท คุณธรรม จริยธรรม มโนธรรม สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ หัวใจ ความอดทน และความหวัง ถ้ามีสามสิ่งนี้ ทุกอย่างไม่ยากเกินไป
.......................................
( ตอน: เจาะ“ครุศาสตร์อิสลาม”ม.อัลอัซฮัร : คอลัมน์เปิดโลกการศึกษามุสลิม)
http://www.komchadluek.net/detail/20120614/132719/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1.html

13 มิถุนายน 2555

เปิดโลกมุสลิม : ตอน: นิติศาสตร์อิสลาม ม.อัลอัซฮัร สำหรับผู้หญิง

เปิดโลกมุสลิม : นิติศาสตร์อิสลาม ม.อัลอัซฮัร

     วันนี้นักศึกษาตัวอย่างที่เรียนดี กิจกรรมเด่นและยังทำงานอาสาช่วยเหลือต่อสังคมในประเทศอียิปต์มาเล่าสู่กันฟัง "วรรณา ยังจอง (ฟาติมะฮ์)" ชื่อเล่นว่า "น้องหมวย" เป็นคนกรุงเทพฯ บิดาชื่อ นายไพโรจน์  รับราชการทหาร ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ แม่ชื่อ นางมาลี เป็นแม่บ้านมีน้องสาวหนึ่งคนชื่อ รุ่งทิพย์ 




        "น้องหมวย" จบการศึกษาระดับซานาวีย์ มัธยมปลายจากโรงเรียนมิศบาฮุ้ลอุลูม กรุงเทพมหานคร จากนั้นสอบชิงทุนของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรและได้เดินทางมาศึกษาต่อที่ประเทศอียิปต์ปี 2008 เข้าเรียนคณะชารีอะห์อิสลามมียะห์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ปัจจุบันนี้ศึกษาอยู่ปีที่4 (กำลังสอบปีสุดท้าย)

                  สำหรับวิชาคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชานิติศาสตร์สำหรับผู้หญิงนั้น "น้องหมวย" บอกว่า ตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสี่ของคณะนี่ส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเดิมๆ แต่เป็นวิชาหลักๆ และเน้นในทุกวิชาการศาสนาที่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม มีความยากตรงที่ต้องเจาะลึกในทุกวิชา วิชาต่างๆ ในคณะมีดังนี้ 1.วิชาอัลกุรอาน 2.วิชาอรรถาธิบายพระคัมภีร์ (ตัฟซีร อัลกุรอ่าน) 3.วิชาเอกภาพวิทยา (เตาฮีด) 4.วิชาไวยากรณ์ภาษาอาหรับ(นาฮู) 5.วิชาทัศนะของนักวิชาการกับกฎหมายอิสลาม (ฟิก มัซฮับ)
                    6.วิชาพื้นฐานนิติศาสตร์ (อูซูล ฟิก) 7.วิชากฎหมายเปรียบเทียบ (ฟิก มูกอเร็น) 8.วิชาประเด็นปัญหาร่วมสมัย (กอฎอยา มูอาซอเราะห์) 9.วิชาวจนะและความรู้เกี่ยวกับวจนะศาสดา (อัลฮาดิษวัลอะกัม) 10.วิชานิติบุคคล (การแบ่งมรดก) 11.วิชาหลักการพื้นฐานการวิจัยวิชากฎหมาย (บะห์ มาดดะห์ฟิก) 12.วิชาภาษาอังกฤษ
                  เรื่องการใช้ชีวิตในอียิปต์ "น้องหมวย" เป็นนักศึกษาทุนได้อยู่ในหอพักนานาชาติ ซึ่งมีนักศึกษาหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน ที่นี่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่ต่างกันไปของแต่ละประเทศ มีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นอย่างดี ความปลอดภัยมีเจ้าหน้าที่หอพักคอยดูแลตลอด 24 ชม. การเข้าออกหอพักเป็นไปอย่างเข้มงวด คือ 06.30-21.00 น. มีการตรวจรายชื่อทุกวัน เหมาะสำหรับนักเรีนนหญิงที่จะมาศึกษาต่อ จะได้สิทธิ์ในการเข้าอยู่หอพัก แต่ถ้าไม่ใช่เด็กนักเรียนทุนต้องสอบถามรุ่นพี่และหาข้อมูลให้ละเอียดก่อนการเดินทาง
                  "น้องหมวย" เป็นเลขาฯ นายกสมาคม ปี 2552/2553 ทำงานติดต่อประสานงานกับนักศึกษาผู้หญิงในชมรมต่างๆ เพราะศาสนาอิสลามวางกรอบในการใกล้ชิดกัน ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย นักศึกษาหญิง สามารถรับรู้ข้อมูลการทำกิจกรรมต่างๆ ได้โดยผ่านเลขาฯ ผู้หญิง ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา น้องหมวย ได้ทำงานได้เรียนรู้มากมายทั้งในเรื่องการทำงานเป็นทีม การทำงานกับองค์กรใหญ่ๆ ซึ่งประสบการณ์ดังกล่าว อาจส่งผลดีให้แก่ตัวเองได้ในอนาคต รู้จักแบ่งเวลา ทำงานและการเรียนได้อย่างลงตัว
                   "น้องหมวย" ฝากบอกว่า อยากเห็นการศึกษาในเมืองไทย มีการพัฒนาส่งเสริมการศึกษาทั้งด้านสามัญและศาสนาควบคู่กันไป โดยเฉพาะโรงเรียนสอนศาสนาที่ไม่มีสามัญก็ควรจะมี กศน. เสริมเพื่อช่วยต่อยอดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เพราะวุฒิการศึกษาสำคัญทั้งสามัญและศาสนาโดยเฉพาะโรงเรียนสอนศาสนา นอกจากเน้นตำราเรียนแล้วเรื่องการสอนพิเศษโดยมีกิจกรรมด้านภาษาอาหรับในเรื่องสนทนาน่าจะช่วยให้น้องมีพื้นฐานที่ดียิ่งขึ้น
                   หลังจบการศึกษา น้องหมวย จะเปิดศูนย์สอนเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและเปิดสถาบันสอนคนมุอัลลัฟ (รับคนที่นับถืออิสลามใหม่) การเปิดศูนย์เด็กเล็กให้การอบรมเลี้ยงดูอยากถูกวิธีและถูกทางตามคำสอนเพื่อการเริ่มต้นชีวิตที่ดีและดำรงอยู่ในโลกด้วยความสุข และอยากบอกน้องๆ นักศึกษาใหม่ที่จะเดินทางมาศึกษาที่นี่ต้องศึกษาข้อมูลและกฎระเบียบให้ชัดเจน สมัยนี้การเข้าศึกษา ม.อัลอัซฮัรเริ่มยากขึ้น มีการสอบวัดระดับ แต่ก็ช่วยในการสร้างพื้นฐานทางภาษาอาหรับให้ชัดเจนยิ่งขึ้น อียิปต์เป็นประเทศที่สอนให้เราต้องเข้มแข็ง
                  "อัลอัซอัรไม่ใช่เป็นแค่เพียงสถาบันสอนศาสนาหากแต่เป็นทะเลแห่งความรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดทางด้านศาสนาอิสลาม" น้องหมวย ทิ้งท้าย
.................................
(เปิดโลกมุสลิม :  ตอน:  นิติศาสตร์อิสลาม ม.อัลอัซฮัร สำหรับผู้หญิง )

9 มิถุนายน 2555

เปิดโลกมุสลิม ตอน : เจาะม.อัลอัซฮัร


คอลัมน์เปิดโลกมุสลิม : ตอน : เจาะม.อัลอัซฮัร คณะศาสนศาสตร์ ภาควิชาตัฟซีร (อรรถาธิบายอัลกุรอาน)

                ความจนไม่ใช่อุปสรรคที่จะเดินตามความฝัน ถ้าเรามุ่งมั่น ยงชีพด้วยการทำสวนและรับจ้างทั่วไปขายของตามตลาดนัด (หัวอิฐ) ที่ฟันฝ่าอุปสรรคจนคว้าปริญญามาครองได้ไปพร้อมๆ กับการใช้ชีวิตคู่กับ ศันสนีย์ มาราวี ทั้งๆ ที่ก่อนที่ ดาอีย์ จะไปเรียนต่อแค่เดือนเดียว หัวหน้าครอบครัวของเขาเสียชีวิตภาระตกหนักจึงอยู่ที่แม่ ซึ่งต้องเลี้ยงลูกด้วยตัวเองมาโดยตลอดแต่หาใช่อุปสรรคไม่
               ดาอีย์ จบจากโรงเรียนประทีปศาสน์ (ปอเนาะบ้านตาล) จังหวัดนครศรีธรรมราช และต่อมาเข้าเรียนต่อ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ) รุ่นที่ 14 เรียนอยู่ 2 ปี จากนั้นได้ทุนมาเรียนอียิปต์ เมื่อปี  2004 เข้าเรียนคอสเซาะห์ (เรียนพิเศษภาษาอาหรับ) 1 ปีแล้ว เข้ามหาวิทยาลัย คณะอูซูลุดดีน (ศาสนศาสตร์) ปัจจุบันศึกษาระดับ ปี 4 ภาควิชา อรรถาธิบายอัลกุรอาน

                วิชาทั้งหมดของปี 1 มี 14 วิชา 1 วิชา ไวยกรณ์ภาษาอาหรับ 2 วิชา ตรรกศาสตร์ 3 วิชา ระบบการปกครองของอิสลาม 4 วิชานิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกห์) 5 วิชาหลักพิจารณาอัลอุรอาน 6 วิชา ศาสนาเปรียบเทียบ   7 วิชา หลักพิจารณา อัลฮ่าดีษ 8 วิชา อัลฮ่าดีษ (วจนศาสดา)  9 วิชา สุนทรียศาสตร์ (เตาฮีด) +สอบสัมภาษณ์  10 วิชากุรอาน +สอบสัมภาษณ์การท่องจำ ยุซ1 11 วิชาอรรถาธิบายพระคัมภีร์ (อัลกุรอาน) 12 วิชา (ต้าเซาวุฟ) 13  วิชา รากฐานการเผยแผ่ (อุซูลุดดะวะห์)14 ภาษาอังกฤษ

                ปี 2 16 วิชา 1 วิชา ตรรกศาสตร์ 2 วิชา หลักพิจารณา อัลกุรอาน 3 วิชา ปรัชญา 4 วิชา นิติศาสตร์อิสลาม 5 วิชา (อัล ค่อตอบะห์)วาทะศาสตร์6 วิชา กุรอาน + สอบสัม ภาษณ์ ท่องจำ ยุซ 1-2  7 วิชา อรรถาธิบาย อัลกุรอาน + สอบสัมภาษณ์ 8 วิชา วรรณกรรมอาหรับ  9 วิชา ชุบฮ๊าตอัลกุรอ่าน (การสร้างความคลุมเครือในกุรอาน) 10 วิชา แนวกระแสความคิค ร่วมสมัย 11 วิชา สุนทรียศาสตร์ (เตาฮีด) 12 วิชา หลักพิจารณา อัลฮ่าดีษ 13 วิชา อัลฮ่าดีษ 14 วิชา อัคล๊าค (จรรยา มารยาท) 15 วิชา ระบบการปกครองของอิสลาม 16 ภาษาต่างปะเทศ ให้เลือก ระหว่าง อังกฤษฝรั่งเศส

                  ปีที่ 3 เฉพาะภาควิชาศาสนศาสตร์เท่านั้น มีภาควิชาให้เลือก 3 เอก คือ 1 เอก อรรถธิบาย อัลกุรอ่าน 2 เอก หลักพิจารณา อัลฮ่าดีษ 3 เอก ปรัชญาอิสลาม ปีสามภาควิชานี้มี 14 วิชา 1 วิชา ประวัติศาสตร์ศาสดา 2 วิชา สุนทรียศสาสตร์ (เตาฮีด) 3 วิชา ว่าซาเอ้ล ตับลีฆ (หลักสูตรการเผยแผ่) 4 วิชา ด้าคี้ล (การแทรกแทรงความคิด)5 วิชา ก้อดอยา (ประเด็นปัญหาสมัยใหม่) 6 วิชา อัลกุรอาน + สอบสัมภาษณ์ ท่องจำ ยุช 1,2,3 2 วิชา อรรถธิบาย อัลกุอ่าน+ สอบสัมภาษณ์ 7 วิชา วาทะศาสตร์ (อัล ค่อตอบะห์) 8 วิชา อรรถาธิบายกุรอาน เชิงวิเคราะห์ 5อรรถาธิบาอัลกุรอาน (ตามตัวบท ) 9 วิชา ต้าเซาวุฟ (จริยธรรม อิสลาม) 10วิชา มนาเฮจมุฟัซซีรีน (หลักสูตรของนักอรรถาธิบาย) 11 วิชา อัลฮาดีษ 12 วิชา ตัจวีด ( ศิลปะ การอ่าน) 13  อาดับ บาลาเฆาะ (วรรณกรรม+วาทศิลป์) 14 มานาฮิจมูฮัดดีซีน (หลักสูตรวิเคราะห์นักฮาดิส)

                ปีที่ 4 15 วิชา 1 วิชา สุทรียศาสตร์ 2 วิชา วจนะศาสดา (ตัวบท) 3 วิชาเเนวทางการเผยเเผ่ของศาสดา 4 วิชา การเเทรกเเซงความคิด (ด่าดี้ล) 5 วิชา การสร้างความคลุมเครือในการกุรอาน (มุต้าชาบิห กุรอ่าน) 6 วิชา อัลกุรอ่าน +สอบสัมภาษณ์ ท่อง ยุซ1,2,3,4 / 7วิชา อรรถาธิบายอัลกุรอาน เชิ่งวิเคราะห์ 8 วิชา อรรถาธิบายกุรอาน (ตัวบท) 9 วิชา ศาสนาเปรียบเทียบ 10 วิชา หลักพิจารณาอัลกุรอาน 11 วิชา เเนวทางของนักอรรถธิบาย 12 วิชา บูรพาคดี 13 วิชา รากฐานวิชา นิติศาสตร์อิสลาม (อุซู้ลลุลฟิกห์) 14 วิชา ตัครีจ อัลฮ่าดีษ 15 วิชา เอียะยาซอัลกุรอ่าน ( พูดถึงความ วิจิตรของอัลกุรอาน)

                ดาอีย์ เช่าบ้านกับเพื่อนๆ ค่าใช้จ่ายเดือนละ 3,000 บาทยึดหลักว่า พอเพียงกับการมี ก็มีความสุขแล้ว ทำงานสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร เป็นประชาสัมพันธ์และวัฒนธรรมปี 51  ปี 53 เป็นอุปนายกและประธานชมรมนครศรีธรรมราชไปด้วย ได้ประสบการณที่มีค่ามากว่าค่าตอบแทนสิ่งอื่นอีก เป้าหมายชีวิตในอนาคต อยากกลับไปช่วยเหลือประเทศและบ้านเกิดของเรา ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา ด้านการทูต หรือด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในไทย

........................................
(คอลัมน์เปิดโลกมุสลิม:ตอน:เจาะม.อัลอัซฮัร คณะศาสนศาสตร์ ภาควิชาตัฟซีร(อรรถาธิบายอัลกุรอาน))

คอลัมน์เปิดโลกการศึกษามุสลิม : ตอน : เจาะ ม.อัลอัซฮัร 'คณะอักษรศาสตร์'


เจาะม.อัลอัซฮัร'คณะอักษรศาสตร์'


                 ช่วงนี้น้องๆ นักศึกษากำลังอยู่ในช่วงสอบปลายภาคการศึกษากันแล้ว แต่เปิดโลกการศึกษามุสลิม ก็ยังได้รับการตอบรับจากน้องๆ ในเรื่องการให้ข้อมูลของคณะที่ตัวเองศึกษาอย่างน่ายกย่อง วันนี้เป็นอีกวันที่ผมได้คัดเลือกน้องนักศึกษาตัวอย่างเรียนดี กิจกรรมเด่น ซึ่งมาจากภาคใต้แดนสยาม จ.นราธิวาส มาเล่าสู่กันฟังเรื่องการศึกษา การใช้ชีวิตในแต่ละวัน โดยเฉพาะวิชาต่างๆ ในคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะหินเลยทีเดียว มีนักศึกษาไทยเรียนคณะนี้ไม่กี่คน เพราะคณะนี้เน้นภาษาอาหรับและความเป็นมา รวมถึงประวัติศาสตร์ที่มีศัพท์ยากพอตัวเลยทีเดียว วันนี้ผมได้นัดสัมภาษณ์ น้อง "มูฮำหมัด ดอรอแม" คำแรกที่นักศึกษาอักษรศาสตร์ให้คำนิยามของ ม.อัซฮัรเลยว่า อัซฮัรในภาษาอาหรับหมายถึงมวลดอกไม้นานาพันธุ์ ที่บานสะพรั่งพร้อมให้พวกแมลง ผึ้งและสัตว์ต่างๆ ได้มาตอม ดอมดม เพื่อเอาน้ำหวานจากดอกไม้ไปผลิตเป็นนำผึ้ง อัลอัซฮัร ก็เปรียบเสมือนแหล่งผลิตความรู้มากมายที่เตรียมพร้อมให้เหล่านักศึกษาทั้งหลายจากทั่วทุกมุมโลกได้มาไขว่คว้าเพื่อนำกลับไปใช้พัฒนาสังคมประเทศของตัวเอง"

       นายมูฮำหมัด ดอรอแม หรือที่เรียกกันติดปากว่า "มะ" เป็นคนนราธิวาส บิดาชื่อ นายมามุ ดอรอแม มารดาชื่อ นางสีตีมืแย สุหลง มีพี่น้อง 5 คน เป็นคนที่ 4 เล่าว่า จบการศึกษาระดับซานาวีย์ มัธยมปลายจากโรงเรียนดารุสสาลาม จ.นราธิวาส เดินทางมาศึกษาต่อที่ประเทศอียิปต์ปี 2002 เข้าเรียนคณะอักษรศาสตร์ ปัจจุบันนี้ศึกษาอยู่ปีที่ 4 (กำลังสอบปีสุดท้าย) รายละเอียดวิชาต่างๆ มีดังต่อไปนี้

                 ปี1 มีดังนี้ 1.วิชาอัลกุรอาน 2.วิชาวาทศาสตร์ (บาลาเฆาะห์) 3.อังกฤษ 4.วิชาไวยากรณ์อาหรับ(นาฮู) 5. ศิลปะของบทความ (ฟัน อัลมากอล) 6.อรรถาธิบายกรุอ่าน (ตัฟซีร) 7.วรรณคดีอาหรับยุคมืด (อาดับญาฮีลีย์) 8.วิชาตัวบทวรรณกรรมยุคมืด (นูซูส อัลยาฮีลีย์) 9.ฉันทลักษณ์ (อัลอารูด)10.วิชาภาษาอาหรับ 11.วิชานิติศาสตร์การปฏิบัติศาสนกิจ (ฟิกอีบาดาต) 12.การออกเสียงภาษาอาหรับ 13.วิชาการผันอักษรภาษาอาหรับ 14.วิชาหลักการพื้นฐานการทำวิจัย

                 ปี 2 เพิ่มจากปีหนึ่ง 5 วิชา คือ 1.วรรณกรรมอาหรับสมัยอูมาวีย์ (อาดับอัลอารอบี วัลอูมาวีย์) 2.ศึกษาตัวบทวรรณคดีอาหรับ (นูซูส อัลอาดาบียะห์) 3.วิชานิติศาสตร์ธุรกรรม (ฟิก มูอามาลาต) 4.ประวัติศาสตร์โลกอิสลาม 5.วิชาว่าด้วยเรื่องพจนานุกรมอาหรับ และตัดวิชาของปีหนึ่งออก (5, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14)

                 ปี 3 เพิ่มจากปีหนึ่ง 8 วิชา คือ 1.วิชาตัวบทวรรณกรรมสเปน 2.วิชานิติศาสตร์การแบ่งมรดก (ฟิกมาวาริส) 3.วิชาการวิจารณ์วรรณกรรม 4.ศึกษาตัวบทวรรณคดีอาหรับ (นูซูส อัลอาดาบียะห์) 5.วิชาวรรณกรรมสมัยอับบาซีย์ และอัลมามาลิก 6.วิชาภาษาอาหรับและสำเนียงการออกเสียง 7.วิชาวจนะศาสดา 8.วรรณกรรมเปรียบเทียบ โดยตัดวิชาของปี 1 (5, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14) และตัดวิชาของปี 2 (1 ,3, 4, 5)

                 ปี 4 เพิ่มจากปี 1 คือ 1.วิชาพื้นฐานนิติศาสตร์ 2.วิชาว่าด้วยการอ้างอิงหลักฐาน (อิลมู อัดดีลาละห์) 3. นิรุกติศาสตร์(ฟิกลูเฆาะห์) 4.ประวัติศาสตร์วรรณกรรมร่วมสมัย 5.การวิจารณ์ภาษาอาหรับ (อัลนักดุ์ อัลอารอบีย์) 6.วิชาวรรณกรรมอิสลาม โดยตัดวิชาของปี 1 (5, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14) และตัดวิชาของปี 2 (1, 3, 4, 5) ตัดวิชาของปี 3 (1, 2, 3, 5, 6, 7, 8)

                 "มะ"เล่าว่า การใช้ชีวิตในการศึกษานั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องแข่งขันกับตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์ ต้องปรับตัวทั้งด้านสังคมนักศึกษาไทยด้วยกันและสังคมของอาหรับ ต้องใช้ความเข้มแข็ง อดทน ถ้าฝันจะมาศึกษาต่อที่อียิปต์ สิ่งแรกที่ควรทำคือการค้นคว้าศึกษาอย่างจริงจังเท่านั้นเอง

                 "ผมเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนๆ ในเขตรุกซี่ ค่าเช่า 5,000 บาทต่อเดือน อาหารการกินก็ทำกันเองแบบง่ายๆ บางครั้งการเล่าเรียนโดยปราศจากการเข้าสังคม หรือการทำงานเพื่อสังคม มันทำให้สมองและมุมมองของเราแคบ เป็นจุดบอดของการเป็นนักศึกษาที่ดีได้ ผมจึงสละเวลาเข้าร่วมทำงานกับสมาคมนักเรียนไทยฯ แม้เป็นช่วงสั้นๆ แต่คุ้มค่าเหลือเกิน ถ้าสักวันหนึ่งเราได้กลับไปพัฒนาสังคมหมู่บ้านของเราเพราะการศึกษาที่ว่ายากแล้ว การเข้ากับสังคม ทำงานร่วมกับคนนี่ยิ่งยากกว่าและถือเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดเลยทีเดียว"

                  "มะ" ยังบอกว่า การศึกษาใน ม.อัซฮัร ไม่ใช่แค่การเป็นอาจารย์สอนเท่านั้น หากแต่เป็นได้หลายๆ อย่าง เพราะปัจจุบันอียิปต์พัฒนาอย่างเห็นได้ชัด อินเทอร์เน็ตมีให้ใช้อย่างสะดวกสบาย การศึกษาก็รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว นักศึกษาบางคนเก่งภาษาอังกฤษ เก่งคอมพิวเตอร์ ทั้งหมดคืองานที่เราสามารถกลับไปเป็นนายของตัวเองได้โดยไม่ต้องเป็นลูกจ้าง ถ้าคิดจะทำจริงๆ เพราะอย่างที่บอกแล้วว่า ประเทศอียิปต์เรามาเพื่อทำการศึกษา และไม่ได้ศึกษาแค่ในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ขอแค่ประเทศไทยเปิดโอกาสให้เวทีสำหรับการทำงานของนักศึกษาที่จบจาก ม.อัซฮัร เท่านั้นเอง

...............................
(คอลัมน์เปิดโลกการศึกษามุสลิม : ตอน: เจาะ ม.อัลอัซฮัร 'คณะอักษรศาสตร์')