บทความโดยอาจารย์บรรจง บินกาซัน ประธานโครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม มูลนิธิสันติชน
ในอดีต ถ้าใครมีแสนยานุภาพทางทหารที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกร คนผู้นั้นก็สามารถยึดครองทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างสะดวกง่ายดาย
แต่
ในปัจจุบัน ถ้าใครมีเงิน คนผู้นั้นก็สามารถครอบครองทุกสิ่งทุกอย่างได้
ยิ่งถ้าใครสามารถสร้างเงินขึ้นมาได้เอง
คนผู้นั้นก็ยิ่งมีอำนาจมากขึ้นในการยึดครอง
นั่น
คือเหตุผลที่ว่า
ทำไมทุกประเทศจึงไม่ให้อำนาจการพิมพ์ธนบัตรตกอยู่ในอำนาจของเอกชน
เพราะถ้าเอกชนสามารถพิมพ์เงินเองได้
เอกชนก็สามารถยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากประชาชนได้ หากเป็นเช่นนั้น
ประเทศและประชาชนก็จะได้รับความเสียหาย
ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางของทุกประเทศจึงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล
แต่ในสหรัฐอเมริกามิได้เป็นเช่นนั้น ชาวอเมริกันจึงประสบความเดือดร้อนจนต้องออกมาประท้วง “ยึดวอลล์สตรีท” กันทั่วประเทศในขณะนี้
ธนาคาร
เฟดเดอรัล รีเสิร์ฟ หรือธนาคารกลางของสหรัฐ
ที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมายเฟดเดอรัล รีเสิร์ฟ ค.ศ. 1912
ในสมัยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน
มิได้เป็นหน่วยงานของรัฐบาลแต่ประการใด
หากแต่เป็นบรรษัทการเงินขนาดใหญ่โดยผู้ถือหุ้นเป็นนายธนาคารสากลที่ทรง
อิทธิพลจากบางประเทศในยุโรป
หลัก
ฐานทางประวัติศาสตร์เปิดเผยว่า กฎหมายเฟดเดอรัล
รีเสิร์ฟเป็นผลงานชิ้นแรกของนายวูดโรว์ วิลสัน
เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐเพื่อตอบแทนกลุ่มนายธนาคารที่สนับ
สนุนเขาให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ธนาคาร
เฟดเดอรัล รีเสิร์ฟ ได้รับอำนาจในการพิมพ์ธนบัตรโดยมีเงื่อนไขว่า
ต้องพิมพ์โดยมีทองคำสำรองหนุนหลังเพื่อให้ธนบัตรดอลลาร์ดำรงมูลค่าที่แท้
จริง มิใช่เป็นแค่เศษกระดาษ
ไม่
เพียงเท่านั้น ในฐานะเป็นธนาคารกลาง ธนาคารเฟดเดอรัล
รีเสิร์ฟยังเป็นแหล่งรักษาเงินสำรองของธนาคารต่างทั่วประเทศด้วย
ใครที่เรียนการเงินการธนาคารมาก็รู้ว่าธนาคารมีความสามารถในการสร้างเงิน
ปล่อยกู้จากเงินฝากได้มากมายหลายเท่าจากเงินฝากที่มีอยู่
และจากกระบวนการปล่อยกู้โดยคิดดอกเบี้ย เพียงไม่กี่ปี
ธนาคารก็จะกำไรและเติบโตขยายตัวแผ่อิทธิพลเข้าไปยังภาคธุรกิจและการเมือง
เหมือนปลาหมึกยักษ์ที่ใช้หนวดของมันจับเหยื่อ
ธุรกิจ
ของธนาคารเฟดเดอรัล
รีเสิร์ฟคือการปล่อยเงินกู้เพื่อหากำไรจากดอกเบี้ยเหมือนกับธนาคารทั่วไป
แต่ลูกค้าสำคัญของธนาคารเฟดเดอรัล
รีเสิร์ฟคือรัฐบาลที่อาศัยภาษีของประชาชนเป็นรายได้มาบริหารประเทศ
ถ้าเก็บภาษีไม่พอหรือไม่ทันต่อค่าใช้จ่าย
รัฐบาลก็จะกู้จากธนาคารเฟดเดอรัลโดยการออกพันธบัตรขายให้แก่ธนาคาร
หลังจากนั้นรัฐบาลก็จะเก็บภาษีจากประชาชนมาจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเฟดเด
อรัล รีเสิร์ฟ
หลัง
สงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาไม่ได้รับความบอบช้ำจากสงคราม
จึงมีโอกาสพัฒนาประเทศเป็นมหาอำนาจได้เร็วกว่าชาติอื่น
รัฐบาลสหรัฐทุกสมัยได้รับการกระตุ้นให้สนับสนุนอภิมหาโครงการที่ต้องใช้เงิน
จำนวนมหาศาล เช่น โครงการสำรวจอวกาศ
การขยายอำนาจทางทหารด้วยการรุกรานชาติต่างๆ เช่น เวียดนาม
เพื่อเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมอาวุธ
การสร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นซื้ออาวุธจาก
สหรัฐ
และการสนับสนุนรัฐบาลอิสราเอลให้เป็นปมปัญหาความขัดแย้งต่อไปไม่สิ้นสุด
เป็นต้น
ยิ่ง
รัฐบาลสหรัฐเร่งใช้จ่ายและกู้เงินจากธนาคารเฟดเดอรัล รีเสิร์ฟมากเท่าใด
รัฐบาลสหรัฐก็ยิ่งเป็นหนี้มากขึ้น
นี่คือสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของนายธนาคาร
แต่คนที่ต้องตกเป็นทาสสร้างความมั่งคั่งให้แก่นายธนาคารที่แท้จริงคือ
ประชาชนที่ต้องจ่ายภาษีไปเป็นดอกเบี้ย
เมื่อ
นายจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในต้นปี ค.ศ. 1961
เขาได้เตรียมประกาศคำสั่งห้ามธนาคารเฟดเดอรัล
รีเสิร์ฟคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากรัฐบาลสหรัฐ
แต่คำสั่งดังกล่าวยังไม่ทันได้ประกาศ เขาก็ถูกลอบสังหารเสียก่อน
และคำสั่งที่เขาเตรียมไว้ก็มิได้ถูกนำมาประกาศใช้
ใน
ค.ศ. 1972 ธนาคารเฟดเดอรัล รีเสิร์ฟ
ได้ยกเลิกการใช้ทองคำสำรองในการพิมพ์ธนบัตร
นั่นหมายความว่านายธนาคารเฟดเดอรัล รีเสิร์ฟ
สามารถจะพิมพ์เงินออกมาจำนวนเท่าใดก็ได้นั่นเอง
เงินดอลลาร์จึงเสื่อมค่าลงจนหลายชาติรังเกียจที่จะรับ
ค.ศ.
2007 สหรัฐประสบภาวะวิกฤตทางการเงินที่คนไทยเรียกว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์”
เพราะสถาบันการเงินแข่งกันปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง (ซับไพรม์)
ซึ่งทำให้ธนาคารเอกชนของสหรัฐบนถนนวอลล์สตรีทขาดทุนล้มระเนระนาด
ในขณะที่ผู้บริหารธนาคารรับโบนัสก้อนโต
แต่รัฐบาลสหรัฐกลับเอาเงินภาษีของประชาชนไปอุ้มธนาคารเหล่านี้โดยตัดงบ
สวัสดิการที่รัฐบาลเคยให้แก่ประชาชน
มิหนำซ้ำยังสร้างภาระให้แก่ประชาชนด้วยการขยายเพดานเงินกู้ให้คนอเมริกัน
แบกรับภาระกันหลังแอ่นต่อไปอีกชั่วลูกชั่วหลาน
ที่
กล่าวมาคือเหตุผลเบื้องหลังของการประท้วงการดำเนินธุรกิจอย่างละโมบของนาย
ธนาคารทั้งหลายซึ่งเรียกกันว่า “ยึดวอลล์สตรีท” ในสหรัฐ
และกำลังขยายตัวไปตามรัฐต่างๆอยู่ในขณะนี้
http://www.oknation.net/blog/knowislam/2011/12/29/entry-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น